แนวทางการดัดแปลงโรงจอดรถอาคารพักอาศัยในโครงการ บ้านจัดสรรเพื่อศึกษาการใช้พลังงาน

ผู้แต่ง

  • อธิพร ปรียาวงศากุล นิสิตปริญญาโท สาขานวัตกรรมอาคาร คณ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชนิกานต์ ยิ้มประยูร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การต่อเติมอาคารพักอาศัย, การดัดแปลงโรงจอดรถ, การจำลองพลังงานในอาคาร, การประหยัดพลังงาน, House Addition, Garage Modification, Building Energy Simulation, Energy Efficiency

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการดัดแปลงโรงจอดรถสำหรับอาคารพักอาศัย ในโครงการบ้าน จัดสรรในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยได้ทำการสำรวจทางกายภาพและเก็บข้อมูลการดัดแปลง โรงจอดรถ ทั้งประเภทการใช้งาน รูปแบบการดัดแปลง รวมไปถึงการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ในตัวอย่างบ้านจำนวน 20 หลัง ผลการสำรวจโครงการเบื้องต้นพบว่า อาคารพักอาศัยเดี่ยวขนาด 2 ชั้นในโครงการบ้านจัดสรร มีความต้องการ ที่จะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายใน ส่งผลให้เกิดการต่อเติมและดัดแปลงอาคารพักอาศัยในรูปแบบต่างๆ โดยพื้นที่ส่วนที่ต่อ เติมได้แก่ พื้นที่โล่งหน้าโรงจอดรถ บริเวณโรงจอดรถ พื้นที่ข้างบ้านที่เชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร พื้นที่ หลังบ้านที่เชื่อมต่อกับห้องครัว และพื้นที่ระเบียงชั้นสอง ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 4 ประเภท ได้แก่ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน และห้องครัว ตามลำดับ จากนั้นจึงทำการเสนอแนวทางรูปแบบการดัดแปลงพื้น ส่วนจอดรถ โดยกำหนดพื้นที่และตำแหน่งช่องเปิดประตู หน้าต่าง ให้สัมพันธ์กันกับการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ ตามการ ใช้งานและทำแบบจำลองเสมือนจริง ด้วยโปรแกรม Tas EDSL เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการใช้พลังงานในการ สรุปรูปแบบที่เหมาะสม และแนะนำแนวทางการดัดแปลงโรงจอดรถให้เป็นพื้นที่ใช้สอยภายในสำหรับอาคารพักอาศัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนา เป็นแนวทางการลดการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศ ในกลุ่ม ของอาคาร พักอาศัยได้

 

Garage Modification Guidelines of Houses in Housing Development Project for Energy Studies

Atiporn Preeyawongsakul and Chanikarn Yimprayoon

This study aims to propose garage modification guidelines for a detached house in housing development for environmental impact reduction in Bangkok using Tas EDSL program to run simulation for energy saving. The field survey showed that the owners of most 2-storey detached houses in a housing development have a need to increase their living spaces resulted in the addition and modification of houses in various forms, for example, by extending spaces in front of garages, by modifying garages, by extending areas that connected to dining areas or kitchens and by modifying the balconies on the second floors. The extended or additional spaces can be grouped into four main spaces which are bedrooms, living rooms, offices and kitchens.

The studies consist of four main parts: firstly the field surveys was conducted in twenty houses to collect physical data such as additional function, design of modification part and interior furniture layout ; secondly, the design alternatives for improving the garage modification for additional functions were proposed. Thirdly, Tas EDSL program was used to evaluated all design alternative regarding energy performances. Finally, design guidelines for four functions of garage modification were proposed. Houses owners and designers can use these guidelines when selecting design options that fit their requirements. And this thesis will be useful for development to reduce energy consumption in the residential section of the country.

Downloads