นวัตกรรมบานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์
คำสำคัญ:
บานเกล็ด, เซลล์แสงอาทิตย์, พลังงานแสงอาทิตย์, louvers, Solar cell, Photovoltaic cellบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ เป็นการออกแบบและผลิตชิ้นงานต้นแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา แนวคิดในการออกแบบและการผลิต “แผ่นบานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์”สำหรับใช้กับหน้าต่างบานเกล็ดทั่วไปที่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ใช้ในเวลากลางคืนได้ ประยุกต์ใช้เป็น “แผงเซลล์แสงอาทิตย์” ติดตั้งตามเปลือกอาคาร ได้แก่ บริเวณหน้าต่าง ผนัง และหลังคา เป็นการใช้พื้นที่เปลือกอาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้เป็นที่นิยมและ แพร่หลายมากยิ่งขึ้นผลจากการทดลองพบว่า 1.) ทิศที่เหมาะสมในการติดตั้งโดยทั่วไปได้แก่ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ตามลำดับ 2.) การปรับมุมแผ่นบานเกล็ดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุดทางด้านทิศใต้ คือ 16° 45° และ 90° ตามลำดับ 3.) แผงบานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุดทางทิศ ใต้ ดังนี้ แผงเอียง 30° มุมบานเกล็ด 16° แผงเอียง 45° มุมบานเกล็ด 16° แผงเอียง 16° มุมบานเกล็ด 16° และ แผงตั้งมุมบานเกล็ด 16° ตามลำดับ 4.) แผงบานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด ทางทิศใต้ ดังนี้ แผงนอนมุมบานเกล็ด 16° แผงนอนมุมบานเกล็ด 0° แผงตั้งมุมบานเกล็ด 16° และแผงตั้ง มุมบานเกล็ด 90° ตามลำดับ 5.) บานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์ 2 แผงต่อแบบขนาน เชื่อมต่อวงจรกับเครื่องควบคุม การประจุไฟฟ้า แบตเตอรี่ 12 โวลต์ และหลอดไฟแอล.อี.ดี. 3 วัตต์ จำนวน 3 หลอด เพื่อใช้งานจริง ผลปรากฏว่า บานเกล็ดพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยสามารถใช้แทนที่แผ่นบานเกล็ดกระจกของ หน้าต่างบานเกล็ดทั่วไปได้
Solar Cell Louver Innovation
Praphantpong Chongpatiyutt and VichitKlangboonkrong
This researchis an applied research. The design and production is a prototype. The purpose of this research is to develop a conceptual design and manufacturing of “Solar Cell Louvers” intensively to be applied with general louver windows that enable electricity for night time. Application of “Solar panels” is to be installed to the building envelope, including windows, walls and roofs in order to maximize the most benefits of building outer boundaries as well as to promote and encourage the use of solar energy as an alternative resource electricity production in larger perceptions. The scope of the research is astudy of design prototypes with the possibility for future usage. The experiment results were listed as follows : 1) The most suitable direction for installation generallyis south and west respectively 2) The most effective angle for louversto generate electricityis facing south 16°, 45° and 90° respectively. 3) Solar cell louvers panel facing south offers the most effective electricity when panel inclined at 30° with 16° louvers angle, panel inclined 45° with 16° louvers angle, panel inclined 16 degrees with 16° louvers angle and vertical with 16° louvers angle respectively. 4) Solarcell louvers with maximum power efficiency if facing southsuch as horizontal panelwith 16° louvers angle, horizontal panelwith 0° louvers angle, vertical panelwith 16° louvers angle and vertical panelwith 90° louvers angle respectively. 5) Combined 2 solar cell louver panels in parallel, connected to acircuit by charge controller, 12 volts battery and 3 LED light bulbs of 3 watts each bulb shown satisfactory result. Solar cell louvers are very efficient for power generation. It could be a replacement for those general glass louver windows.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ