การออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ แนวทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเองในพื้นที่สาธารณะ INTERACTIVE DISPLAY DESIGN: A GUIDE TO ENCOURAGE SELF-ACCESS ENGLISH LEARNING SKILL IN PUBLIC SPACE.
คำสำคัญ:
INTERACTIVE DISPLAY DESIGN, ACTIVITY SKILLS, INTERACT, SELF-ACCESS LEARNING, PUBLIC SPACE, การออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้, กิจกรรมเสริมทักษะ, ปฏิสัมพันธ์, พื้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเอง, พื้นที่สาธารณะบทคัดย่อ
บทคัดย่อภาษาไทย:
ปัญหาการขาดทักษะความรู้ภาษาอังกฤษของคนไทยเป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขและการเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนทำให้จำเป็นต้องมีการส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษ แต่ความเป็นจริงคนไทยทั่วไปยังขาดการกระตุ้นการเรียนการสอนด้านภาษา อย่างไรก็ตามหลายหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ภาษาด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาการขาดทักษะความรู้ภาษาอังกฤษของคนไทย จึงเกิดคำถามวิจัยว่า การออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้ภาษาด้วยตนเองสามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างไร การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปัญหาการขาดทักษะความรู้ภาษาและทราบแนวทางแก้ไขโดยการออกแบบเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในพื้นที่สาธารณะ โดยมีวิธีเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์อาจารย์ชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์สอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และโดยมีวิธีเชิงปริมาณ ด้วยการทำแบบสอบถามออนไลน์จากโปรแกรม (SurveyMonkey) จากคนไทยช่วงอายุ 18 ถึง 25 ปี จากการศึกษาพบว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนไม่สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดีเมื่อเทียบกับการเรียนรู้จากภายนอกห้องเรียน การออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์สำหรับการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะความรู้ด้านภาษาอังกฤษนั้นเป็นการกระตุ้นให้บุคคลมีความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีปัจจัยที่เกื้อหนุนจาก สื่อ แหล่งความรู้ และบุคคล เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
คำสำคัญ; การออกแบบนิทรรศการการเรียนรู้, กิจกรรมเสริมทักษะ, ปฏิสัมพันธ์, พื้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเอง, พื้นที่สาธารณะ
ABSTRACT:
A lack of knowledge in English is a problem that needs to be rectified. Since Thailand is a member of ASEAN it is necessary to support the English language skills for Thai people. On the other hand, Thai people still lack the motivation to learn English. Efforts in helping to learn have started to realise the importance of space design for self-access learning to improve their skills and problem-solving on the lack of English skills of the Thai people. This lead to the research question is ‘How does interactive display design for self-access language bring out the improvement on Thai people’s proficiency in the public space?’ The research objectives are to study the cause of over low English language skills among Thai learners and to find the solution to design space leads to improve and encourage Thai learners to learn English language in the public space. The interview was applied to collect a qualitative data of foreign teachers who had been teaching English in Thailand. A questionnaire was applied to collect a quantitative data of Thai people ages around 18 to 25 years. The study found that teaching in the classroom cannot stimulate the interest of students when compared to learning outside the classroom. The providing of interactive display design for self-access activities, skills and knowledge is the place for learners to be more interested and interact from the factor that contributes to the media, resources, and person for support self-access learning by their learning style for a lifelong study.
Keywords; INTERACTIVE DISPLAY DESIGN, ACTIVITY SKILLS, INTERACT, SELF-ACCESS LEARNING, PUBLIC SPACE
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ