สถานภาพผลงานวิชาการการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย The Status of Academic Outputs in Vernacular House Study in the Northeast of Thailand

ผู้แต่ง

  • ธนิศร์ เสถียรนาม
  • นพดล ตั้งสกุล

คำสำคัญ:

สถานภาพผลงานวิชาการ, เรือนพื้นถิ่น, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, Status of academic outputs, vernacular house, the northeast of Thailand,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานภาพผลงานวิชาการการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “ภาคอีสาน” ของประเทศไทย ผ่านการศึกษากลุ่มตัวอย่างผลงานวิชาการที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2558 จำนวน 112 รายการ ประกอบด้วย หนังสือวิชาการ รายงานการวิจัย บทความ เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา และวิทยานิพนธ์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและการจัดทำแผนที่ เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมและสาระสำคัญของการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตผลงานวิชาการมีพัฒนาการจากการขยายขอบเขตเนื้อหาสาระของการศึกษา และจำนวนผลงานวิชาการที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น มีการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในพื้นที่ต่างๆ กระจายทั่วภาคอีสาน และพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม เช่น สปป.ลาว โดยมีเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคเป็นประเด็นที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ด้านเนื้อหาสาระพบว่ามีการศึกษาในประเด็นที่หลากหลาย จำแนกได้ 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ การก่อรูปเรือนพื้นถิ่น การอนุรักษ์ เทคโนโลยีอาคาร พัฒนาการ คุณลักษณะ ที่ว่าง และการศึกษาในประเด็นข้ามศาสตร์วิชา และภาพรวมของวัตถุประสงค์การศึกษาเรือนพื้นถิ่นมีลักษณะร่วม 4 ประการ คือ (1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเรือนพื้นถิ่น (2) เพื่ออนุรักษ์และสืบสานในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม (3) เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ของศาสตร์วิชา และ (4) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในลักษณะบูรณาการข้ามศาสตร์วิชา ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ที่สนใจสามารถใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสืบค้น อ้างอิง การตั้งโจทย์และประเด็นการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในภาคอีสานให้มีความเหมาะสมต่อไปABSTRACTThis article aims to explain a status of academic outputs in vernacular house study in the northeast or “Isan” of Thailand. The review of this article is based on 112 samples of academic outputs published during 1984-2015 A.D., i.e. texts, research reports, articles, conference papers and theses, then to present all analyzed data by description and mapping in order to demonstrate an overview and a substiantial of study from the past till now. The results have shown that during a few decades the academic outputs have been gradually developed in terms of a variety of contents and increasing number of works. There is the vernacular house study throughout the Isan Region and some related areas in Lao PDR. The vernacular houses of various ethnic groups are the interested topics of study for most scholars. There are various study approaches which can be categorized into 7 main contents, namely vernacular house formation, conservation, building technology, development, characteristic, spatial study and transdisciplinary. In addition, overall objectives of vernacular house study can be characterised into 4 main points: (1) to express the value and importance of study; (2) to conserve and inherit as a cultural heritage; (3) to accumulate the knowledge and findings; and (4) to promote an interdisciplinary study. The outcome of this aritcle is useful as the database for search, reference and development of proper research topic and research question for anyone interested in vernacular house study in the northeast of Thailand.  คำสำคัญ: สถานภาพผลงานวิชาการ เรือนพื้นถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยKey words: Status of academic outputs, vernacular house, the northeast of Thailand 

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานภาพผลงานวิชาการการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “ภาคอีสาน” ของประเทศไทย ผ่านการศึกษากลุ่มตัวอย่างผลงานวิชาการที่มีการเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2558 จำนวน 112 รายการ ประกอบด้วย หนังสือวิชาการ รายงานการวิจัย บทความ เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา และวิทยานิพนธ์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและการจัดทำแผนที่ เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมและสาระสำคัญของการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตผลงานวิชาการมีพัฒนาการจากการขยายขอบเขตเนื้อหาสาระของการศึกษา และจำนวนผลงานวิชาการที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น มีการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในพื้นที่ต่างๆ กระจายทั่วภาคอีสาน และพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม เช่น สปป.ลาว โดยมีเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคเป็นประเด็นที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ด้านเนื้อหาสาระพบว่ามีการศึกษาในประเด็นที่หลากหลาย จำแนกได้ 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ การก่อรูปเรือนพื้นถิ่น การอนุรักษ์ เทคโนโลยีอาคาร พัฒนาการ คุณลักษณะ ที่ว่าง และการศึกษาในประเด็นข้ามศาสตร์วิชา และภาพรวมของวัตถุประสงค์การศึกษาเรือนพื้นถิ่นมีลักษณะร่วม 4 ประการ คือ (1) เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเรือนพื้นถิ่น (2) เพื่ออนุรักษ์และสืบสานในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม (3) เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ของศาสตร์วิชา และ (4) เพื่อสนับสนุนการศึกษาในลักษณะบูรณาการข้ามศาสตร์วิชา ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ที่สนใจสามารถใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสืบค้น อ้างอิง การตั้งโจทย์และประเด็นการศึกษาเรือนพื้นถิ่นในภาคอีสานให้มีความเหมาะสมต่อไป

ABSTRACT

               This article aims to explain a status of academic outputs in vernacular house study in the northeast or “Isan” of Thailand. The review of this article is based on 112 samples of academic outputs published during 1984-2015 A.D., i.e. texts, research reports, articles, conference papers and theses, then to present all analyzed data by description and mapping in order to demonstrate an overview and a substiantial of study from the past till now. The results have shown that during a few decades the academic outputs have been gradually developed in terms of a variety of contents and increasing number of works. There is the vernacular house study throughout the Isan Region and some related areas in Lao PDR. The vernacular houses of various ethnic groups are the interested topics of study for most scholars. There are various study approaches which can be categorized into 7 main contents, namely vernacular house formation, conservation, building technology, development, characteristic, spatial study and transdisciplinary. In addition, overall objectives of vernacular house study can be characterised into 4 main points: (1) to express the value and importance of study; (2) to conserve and inherit as a cultural heritage; (3) to accumulate the knowledge and findings; and (4) topromote an interdisciplinary study. The outcome of this aritcle is useful as the database for search, reference and development of proper research topic and research question for anyone interested in vernacular house study in the northeast of Thailand.

คำสำคัญ: สถานภาพผลงานวิชาการ เรือนพื้นถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Key words: Status of academic outputs, vernacular house, the northeastof Thailand

Author Biographies

ธนิศร์ เสถียรนาม

นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีเมล: daothanit@yahoo.com

นพดล ตั้งสกุล

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีเมล: nopthu@kku.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30