เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ตลาดล่างถนนพระราม จังหวัดลพบุรี Vernacular Rowhouse in Historic Urban Landscape of Talad Lang Rama Street, Lopburi Province
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์, Historical urban landscape, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, Vernacular Architecture, อาคารแถว Rowhouse, เรือนแถวไม้ Wooden Rowhouse, ตึกแถว brick and Concreat Rowhouse ตึกแถวการค้า Shophouse, ลพบุรี Lopburi,บทคัดย่อ
บทคัดย่อ:
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ของตัวเมืองจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ที่มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ โดยการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์ขึ้นกับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และการมาถึงของปูนซีเมนต์ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง เมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธินกับสายเอเชีย รวมถึงการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
Abstract:
Vernacular rowhouses in historic urban landscape of Lopburi Province were situated along the Lopburi River. Such area was considered commercial zone during the reign of King Narai due to the location where rivers met. It was not only for trade, but also transportation, which still played important roles in Rattamakosin Period. Vernacular rowhouses were constructed for both residential and commercial purposes. Due to the evidences, wooden vernacular rowhouses were found in the old days, then masonry buildings came to replace. This directly related to social and economic status of the city when railways came in 1897. In other words, construction materials like iron and cement were brought to the city. Hence, rivers played less important roles. In addition, when the central government initiated Paholyothin Road and the Asian Highway, as well as the dam at Maneecholkhan Temple, transportation and trade via rivers seemed to end their roles. However, market still played significant role as the trade centre for communities. At the same time, modern shophouses were introduced by Field Marshal Plaek Pibulsongkram, the Prime Minister who aimed to develop Lopburi Province as the centre for Thai economy, society, and army.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ