ลักษณะเฉพาะของชุมชนและเรือนพื้นถิ่นไทลาว กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย Character of Tai Lao Communities and Vernacular Houses: Case study Chiang Khan District, Loei Province

ผู้แต่ง

  • จิตรมณี ดีอุดมจันทร์
  • วันดี พินิจวรสิน
  • อรศิริ ปาณินท์

คำสำคัญ:

ลักษณะเฉพาะ, ชุมชนและเรือนพื้นถิ่น, การอยู่อาศัย, ไทลาว, ไทเชียงคาน, Character, Communities and Vernacular Houses, Dwelling, Tai Lao, Tai Chiang Khan,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ชุมชนและเรือนพื้นถิ่น เป็นสิ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตทางสังคมวัฒนธรรมของชาวบ้านและพื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ในภาพรวมของปัจจัยเหล่านี้ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของคุณค่าทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตามจากการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆของประเทศได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเข้ามากระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และพื้นที่ในการอยู่อาศัยของชาวบ้านถูกปรับเปลี่ยนไป และบางครั้งถูกละเลยจนบางคุณค่าทางวัฒนธรรมได้สูญหายไป โดยเฉพาะกลุ่มไทลาวในภาคอีสาน ในการศึกษานี้มุ่งเน้นค้นหาและทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมในการอยู่อาศัยของชาวไทลาวในภาคอีสาน ข้อมูลในบทความนี้ มาจากการศึกษาภาคสนามในเขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียง-คาน จังหวัดเลย ในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2551-2555 โดยการสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์โดยการจำแนก การเปรียบเทียบ และการให้ความหมายกับลักษณะสำคัญของชาวบ้าน เพื่ออธิบายลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของเรือนและชุมชนพื้นถิ่นไทลาว
ผลจากการศึกษา พบว่าลักษณะเฉพาะของชุมชนและเรือนพื้นถิ่นไทเชียงคาน สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่กับการอยู่อาศัย หรือการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยสามารถอธิบายผ่านประสบการณ์ที่ผู้อาศัยมีความสัมพันธ์ต่อลักษณะกายภาพ การใช้พื้นที่และคติความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรมของพวกเขา คุณลักษณะเฉพาะที่แฝงในเรือนนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และโดยมากแสดงออกถึงแบบแผนการอยู่ของชาวบ้านที่ผสานคุณค่าแบบสมัยใหม่เข้ากับคุณค่าแบบดั้งเดิมของตนไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังพบว่าคติความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรม ครอบครัวและเครือญาติ เป็นปัจจัยสำคัญในการแสดงออก หรือคงรักษาไว้ ซึ่งลักษณะเฉพาะของชุมชนและเรือนพื้นถิ่นเชียงคาน

 

ABSTRACT
Communities and Vernacular houses reflect social-cultural living of local people and place in which they exist. This holistic relationship also discloses some values in accordance with local culture of a particular place. However, the modern development of the country has been rapidly expanding into many local areas. Thus, local people have to adjust themselves toward those changing conditions. This has resulted in changes of their dwelling accordingly. In some case, changes have brought about loss of significant values of particular culture, especially Tai Lao in the Northeast (e-san) Thailand. This study emphasizes to explore and to understand characters of communities and vernacular houses of Tai Lao in the Northeast Thailand. The data were obtained from fieldwork during 2008 - 2012 in Chiang Khan District, Loei Province by using the methods of observations and interviews. Typological analysis, comparative analysis and the residents’ narrations were used to explain the essence characters of communities and vernacular houses of Tai-Lao.
This study found that characters of communities and vernacular houses of Tai Chiang Khan express through the relationship between living space and living patterns of the villagers in everyday life. This can be explained through the villagers’ experiences with physical appearance of their living environment, their way of using space and their social-cultural beliefs. These characters always change. The most changes of characters express the living patterns of the villagers, blending between modern values, and their past values. The study also found that the social-cultural beliefs, family system and kinship are the importance factors expressing characters of vernacular houses and communities of Tai Chiang Khan.

Author Biographies

จิตรมณี ดีอุดมจันทร์

นักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันดี พินิจวรสิน

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง  ,บัณฑิณวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรศิริ ปาณินท์

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30