การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง: บทเรียนจากสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ บ้านทับช้าง กรุงเทพฯ Mass Transit Station Environments and Accessibility Improvements: Lessons Learned from Ban Thab Chang Airport Rail Link Station,

ผู้แต่ง

  • สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์

คำสำคัญ:

การเข้าถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง, การขนส่งที่ยั่งยืน, การเดินเท้า, การใช้จักรยาน, Access to Mass Transit Stations, Sustainable Transportation, Walking, Cycling,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ในกรุงเทพฯ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สภาพแวดล้อมของสถานีและการเข้าถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง มีผลต่อจำนวนผู้โดยสารและรายได้ ระบบนี้เปิดให้บริการมานานกว่าห้าปี แต่ยังคงมีจำนวนผู้โดยสารต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการบริหารระบบ สถานีบ้านทับช้าง เป็นสถานีที่มีจำนวนผู้โดยสารต่ำที่สุดในระบบ เนื่องจากที่ตั้งของสถานีเข้าถึงได้ยาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงสถานีบ้านทับช้าง เพื่อให้ประชาชนเดินทางเข้าสู่สถานีได้สะดวกขึ้น เป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารที่เข้าสู่สถานีนี้ให้มากขึ้น ผู้วิจัยได้สำรวจพื้นที่ศึกษา สัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการหมู่บ้านจัดสรร และสำรวจพฤติกรรม ความคิดเห็น และความต้องการในการเดินทางเข้าสู่สถานีของผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรโดยรอบสถานี 218 คน และผู้โดยสาร 210 คน โดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ปัญหาสำคัญในการเข้าถึงสถานีบ้านทับช้าง คือ เส้นทางและบริเวณสถานีมีบรรยากาศที่ไม่ปลอดภัย ขาดความสะดวก ใช้เวลาเดินทางนาน และค่าใช้จ่ายสูง ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงสถานีบ้านทับช้าง โดยใช้แนวคิดการขนส่งที่ยั่งยืน ที่เน้นการส่งเสริมการเดินเท้า การใช้จักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะ งานวิจัยนี้จะเป็นกรณีศึกษาในการวางแผน ประเมิน และปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการเข้าถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางอื่นๆ ในกรุงเทพฯ รวมถึงสถานีรถไฟและสถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดเล็กในต่างจังหวัด

ABSTRACT
Bangkok’s Airport Rail Link shows very well how a station’s environment and accessibility affects ridership and revenues. More than five years after its introduction the system still has lower ridership than anticipated and revenues cannot cover costs. Ban Thap Chang Station attracts the fewest passengers due to its poor access. The research aims to improve environments and accessibility of the station to facilitate passengers travel to the station and therefore increase number of passengers. In this research, field surveys were conducted, officers from related government agencies and developers were interviewed, and 218 residents and 210 passengers at the station were asked about their travel behaviors and their thoughts and desires regarding the station’s accessibility by using questionnaires. It was found that problems in travelling to the station include: the unsafe atmosphere prevailing along routes to the station and at the station itself; inconvenient and long access routes, and high travel expenses. The concepts of sustainable transportation that promote walking, cycling and public transportation was then used to develop recommendations as to how improve the station’s environment and access. The study yields important insights that can also be used to plan, evaluate and improve station access and environments along Bangkok’s other mass rapid transit systems, and for railway and light-rail stations in the provinces.

Author Biography

สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30