ความเชื่อกับการก่อรูปหมู่บ้านและเรือนชาวกูย:กรณีศึกษาบ้านโนนสำโรง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธนานนท์ ลาโพธิ์
  • จันทนีย์ จิรัณธนัฐ

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, ชาวกูย, หมู่บ้านและเรือนพื้นถิ่น, Beliefs, Kui people, Village and Vernacular house,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาลักษณะทางกายภาพหมู่บ้าน ผังหมู่บ้าน ผังเรือน ความเชื่อซึ่งสัมพันธ์กับการวางผังหมู่บ้าน
และผังเรือน รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อรูปหมู่บ้านและเรือนที่ยังคงความเชื่อแบบดั้งเดิม จากการศึกษา
พบว่า การก่อรูปหมู่บ้านมีการวางผังหมู่บ้านให้สอดคล้องกับทิศความเชื่อ โดยมีการจัดสรรพื้นที่โดยอาศัยหลัก
ความเชื่อและพิจารณาตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สภาพภูมิประเทศ มีทิศดีกับทิศไม่ดีเป็นตัวกำหนด
รูปแบบการวางผังหมู่บ้านและผังเรือนดั้งเดิม ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เมื่อพิจารณาตามทิศความเชื่อในการจัดวาง
พื้นที่ใช้สอยภายในเรือน อย่างไรก็ตามสิ่งที่มีร่วมกันคือ ความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในการวางผังเรือน ความเชื่อ
เกี่ยวกับผีและการโสก อันเป็นรากฐานของเรือนพื้นถิ่นชาวกูย เช่น ตำแหน่งหัวนอนต้องหลีกเลี่ยงการปะทะกับทิศ
ไม่ดีเพราะจะทำให้เกิดความไม่เป็นมงคล เป็นต้น นอกจากนี้ความเชื่อเรื่องการโสกมักสัมพันธ์กับแนวปฏิบัติในการจัด
พื้นที่ภายในเรือน รวมไปถึงตัวเลขซึ่งมักสัมพันธ์กับเลขคี่ โสกสำหรับชาวกูยจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ความเชื่อ แต่โสกยัง
เป็นกุศโลบายในการสืบทอดภูมิปัญญาต่อเนื่องกันจากรุ่นสู่รุ่น โดยอาศัยเครื่องมือคือความเชื่อ การที่ชุมชนยึดถือปฏิบัติตามแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมของตนที่มีอยู่แล้ว สืบทอดกันมาอย่างช้านาน เป็นการแสดงออกถึงความเข้ม
แข็งของชุมชนอย่างแท้จริง


ABSTRACT
This article is from the study of the outstanding physical characteristics, village plan, house plan, and beliefs which correlate to village and house planning, and the factors influencing village physical pattern and vernacular house from traditional beliefs. The findings indicated that village planning was in accordance with the directions of beliefs. Land allocation was performed based on the principles of beliefs and appropriateness of the environment and topography. Good and bad irections regulated the former village pattern forming and house plans, which could be classified into 2 types according to beliefs in laying house-use division. Nevertheless, the common factor is the belief in house planning, ghosts and fate, which form the foundation of Kui vernacular house. For instance, the head of a bed must not be towards the bad direction, for it brings bad fate. Besides, beliefs in fate often relate to practices in space allocation in the house and to the figures which should be the odd ones. Fate for Kui people is not only the belief but also the stratagem inherited as local wisdom from generation to generation relying on the traditional beliefs as the tools. The community’s long practices of the existing notions, beliefs and cultures truly manifest the people’s strengths.

Author Biographies

ธนานนท์ ลาโพธิ์

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จันทนีย์ จิรัณธนัฐ

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30