การออกแบบวางผังบริเวณเพื่อปรับปรุงพื้นที่สวนสาธารณะสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์

ผู้แต่ง

  • เขมโชต ภู่ประเสริฐ

คำสำคัญ:

การออกแบบและวางผัง, สวนสาธารณะ, พื้นที่ว่างสาธารณะ, ระบบนิเวศ, กิจกรรมนันทนาการ, Planning and design, Public park, Public open space, Ecosystem, Recreation activity,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงการวิเคราะห์พื้นที่ในโครงการออกแบบและวางผังบริเวณเพื่อปรับปรุงพื้นที่ “สวนร่มเกล้า
กัลปพฤกษ์” ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สวนสาธารณะแห่งนี้มีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตของนักศึกษาและบุคลากร
ทั้งด้านกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกาย รวมถึง ด้านกิจกรรมพิธีการต่างๆ สภาพแวดล้อมโดยรอบมีความ
สวยงามและมีระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ในปัจจุบันมีสภาพกายภาพที่ทรุดโทรม ไม่มีแผนและผังรวมในการ
พัฒนาพื้นที่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงมีโครงการให้ดำเนินการออกแบบและวางผังบริเวณเพื่อปรับปรุงพื้นที่สวนร่มเกล้า
กัลปพฤกษ์เพื่อให้ตอบสนองนโยบายและการพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
การออกแบบและวางผังมี 3 กระบวนการหลัก คือ 1.) การเก็บข้อมูลพื้นที่และนำข้อมูลที่ได้จัดทำเป็นแผนผัง
ข้อมูล 2.) การใช้กระบวนการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม (SWOT Analysis) และการซ้อนทับ
ชั้นแผนผังข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนและพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ 3.) การจัดทำรายละเอียดการพัฒนาและ ทำผังบริเวณการใช้ประโยชน์พื้นที่รวมของสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ การออกแบบและวางผังมีการกำหนดโซนและพื้นที่กิจกรรมตามบริบทเดิมและขยายการเชื่อมโยงสู่พื้นที่เกี่ยวเนื่องรอบสวน มีการจัดระบบเส้นทางวิ่งออกกำลัง
ทางเดินเท้าและทางจักรยานให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมพื้นที่กิจกรรมโดยไม่รบกวนกัน มีการควบคุมการเข้าออกเพื่อ
ความปลอดภัย มีการเพิ่มสิ่งสนับสนุนออำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสวนเพื่อความสะดวกสบายและปลอดภัย
รวมถึงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยเฉพาะระบบการระบายน้ำ หัวใจสำคัญของการออกแบบและวางผังคือ เคารพใน
บริบทเดิมของพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์เป็นสวนสาธารณะที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะด้าน
การให้ความสำคัญต่อระบบนิเวศของพื้นท

ABSTRACT
This article discusses the analysis of site planning and design of Romklao-kallapruek Park
which is located in Khon Kaen University. This park has played an important role in the daily life activity of students and university staffs, including recreational, outdoor exercise and special events.

The park has a peacefully comfortable environment with a unique ecosystem. Unfortunately, the parkphysicalconditionshavecurrentlydeteriorating.Therewasnodevelopmentplanandsiteplan foroperatingasadevelopmentguidelineofthearea.Thereforetheuniversitypolicyhasconcerned for the implementation and improvement plan for the Romklao-kallapruek Park by providing the project of site plan and landscape design for the park. 
The design and site plan incorporated with three main processes: 1.) Site survey and data
collection prepared in the form of data mapping. 2.) Using the SWOT analysis and an overlay of data mapping process for analyzing, modifying and developing the area according to its potential.
3)Thepreparationofadetaileddevelopmentplanandlanduseoftheprojectarea.Thelandscape
design and site plan concern zoning and related activities in corresponding to the park existing contextssuchasjoggingpath,pedestrianwayandbicyclepath,thelinkageandrelationshipbetween zoningactivitiesandexistingpathswithoutinterference,theaccesscontrolforsecurity,thecomfort and safety facilities, the concern of drainage system in the park. The important key issue for the design and site planning of the park is to respect site existing context and to encourage a sustainable development especially the ecosystem of the area.


Author Biography

เขมโชต ภู่ประเสริฐ

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30