การศึกษาสภาวะสบายของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคง ชุมชนโนนหนองวัด 2

ผู้แต่ง

  • พงศ์ตะวัน นันทศิริ
  • สักการ ราษีสุทธิ

คำสำคัญ:

สภาวะสบาย, ที่พักอาศัยผู้มีรายได้น้อย, การปรับตัว, Thermal Comfort, Residence of Low Income, Adaptive Model,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาวะสบายโดยใช้วิธีการศึกษาสำรวจภาคสนาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง
ระดับสภาวะสบายของคนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชน รูปแบบที่พักอาศัยในชุมชนที่ศึกษาเกิดขึ้นจากข้อจำากัดต่างๆ และ
รูปแบบการปรับตัวและสภาพแวดล้อมรวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ ของอาคารพักอาศัยใน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
ในการศึกษาของสภาวะสบายเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงออกแบบก่อสร้างของที่พักอาศัยได้อย่างเหมาะสมกับ
ข้อจำกัดในด้านต่างๆ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อนำเสนอแผนภูมิขอบเขตสภาวะสบายของผู้มีรายได้น้อยที่
อาศัยอยู่ในเมืองโดยจะแบ่งเป็น2ช่วงได้แก่ช่วงต้นฤดูฝนซึ่งมีขอบเขตอุณหภูมิสบายที่26.2ถึง31.6องศาเซลเซียส
สัมพันธ์กับปริมาณความชื้นร้อยละ 62.9 ถึง 82.4 และช่วงฤดูหนาวมีขอบเขตอุณหภูมิสบายที่ 27.4 ถึง 30.7
องศาเซลเซียส สัมพันธ์กับปริมาณความชื้นร้อยละ 33.4 ถึง 73.9 ขอบเขตสภาวะสบายที่นำเสนอนี้มีค่าอุณหภูมิที่
ความสอดคล้องกับสภาวะสบายของ ASHRAE Std 55-2010 และสภาวะสบายและการปรับตัวที่มีการศึกษาใน
ประเทศไทย แสดงให้เห็นว่าการปรับตัวของผู้คนเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายจึงมีความสำคัญ เมื่อผู้ที่พักอาศัยมีความ
รู้สึกว่าไม่สบายในสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม การปรับตัวและสภาพแวดล้อมจะเกิดขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยน
เสื้อผ้า กิจกรรมที่ทำอยู่ การเปลี่ยนแปลงสถานที่หรือสภาพแวดล้อม

 

ABSTRACT
This research is a thermal comfort study that is conducted by a field survey in order to understand in the thermal comfort of people who living in a community. The community’s residential buildings have been arising from constrains, people‘s adaptations, environment, including building‘s elements. This research aims to study thermal comfort and adaptation of the low income residents which is in urban area. The research also aims to guide how to improve, designandbuildhousinginresponsetothelimitationsofsurroundingappropriately.Theresultsof statistical analysis are presented in the resident’s thermal comfort chart. The chart is divided into 2 ranges, which are rainy season (the temperature range of comfort is 26.2-31.6 degree Celsius and 62.9-82.4percentofrelativehumidity)andwinterseason(temperaturerangeofcomfortis27.4-30.7 degree Celsius and 33.4-73.9 percent of relative humidity). This thermal comfort’s range is accords with ASHRAE Std 55-2010 and other thermal comfort studies in Thailand, which the condition of thermal comfort significantly depends on people’s adaptedness. The results showed that when people feel uncomfortable in the weather condition, they will adapt their living to make their own thermal comfort condition such as changing cloths, adjusting activity, and improving their places and surrounding.

Author Biographies

พงศ์ตะวัน นันทศิริ

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สักการ ราษีสุทธิ

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30