คุณค่าของเรือนโคราชในทัศนคติของผู้อยู่อาศัย - The Value of Korat House towards the Attitude of Occupant

ผู้แต่ง

  • การุณย์ ศุภมิตรโยธิน
  • วารุณี หวัง

คำสำคัญ:

เรือนโคราช, คุณค่า, ทัศนคติ, ผู้อยู่อาศัย, Korat House, Value, Attitude, Occupant

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของเรือนโคราช ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาว จังหวัดนครราชสีมา และนับวันจะมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในขณะที่ยังมีชาวโคราชกลุ่มหนึ่งยังคงอยู่อาศัยในเรือนโคราชของตน ถึงแม้จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของบทความนี้คือการศึกษาทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อเรือนโคราชในประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมกับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมการมองเห็นคุณค่าและความสำคัญ รวมถึงค่านิยมในการสร้างบ้านในปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตบันทึกภาพและสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยและผู้ที่เคยอยู่อาศัยในเรือนโคราช ในเขตพื้นที่บ้านพระเพลิง บ้านสระน้อย และบ้านนกออก ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา พร้อมวิเคราะห์ ตีความและสรุปผล ผลการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เห็นว่าเรือนโคราชของตนเหมาะสมกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน แต่ด้วยสภาพความเก่าแก่ของเรือนจึงมีปัญหาในการอยู่อาศัย ได้แก่ การผุพังเสื่อมสภาพของวัสดุการทำลายของปลวก การรั่วซึมของหลังคา และปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยังมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของเรือนที่ตนอยู่อาศัย เพียงแต่อยู่ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น มีความรู้สึกผูกพัน
ร้สึกหวงแหน และมีจิตสำนึกในการสืบสาน ทั้งนี้ กล่มุ ผ้สู ูงอายุและกล่มุ คนร่นุ ใหม่ที่เป็นลูกหลาน มีค่านิยมในการสร้างบ้านที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของเรือนโคราช และค่านิยมการสร้างบ้านในปัจจุบัน ทัศนคติมุมมองของผู้อยู่อาศัยจึงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของเรือนโคราชดังนั้น การที่จะอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้อย่างยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับทัศนคติของผู้อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติการในเชิงวิชาการ

ABSTRACT

The changing of the economy and society at present has an effect on the existing state Korat Houses. The vernacular architecture which represents the identity of people in Nakorn Ratchasima are decreasing and deteriorating. Whereas some Korat people still reside in their Korat Houses and modify them to suit their contemporary way of living. The article aims to study the occupant’s attitude toward Korat Houses in related aspects, such as suitability for daily life, environment, economy and society, consciousness of value and significance, as well as value in house construction at present. The methodology of this study are observation, photography, interview with the occupants whom live or used to live in Korat Houses that locate in Phraphoeng village, Sanoi village and Nok-Ok village of Nok-Ok district, Amphur Pakthongchai, Nakorn Ratchasima province, then the qualitative data analysis, interpretation and conclusion. The survey found that many occupants think Korat Houses are appropriate for their daily life, environment, economy and society nowadays. But there are some inconvenience because of dilapidation, such as deterioration of materials, destruction by termite, water leakage, flood, and etc. However, many occupants still perceive value and the significance of their Korat Houses in different ways. For example, they have an attachment, cherish and self-consciousness of continuation. Besides, there are the differences of opinion on house construction value among the elder and younger generation, as well as the factors that influence their attitude about appreciation of contemporary house construction. As a consequence, the occupant’s attitude is the main factor that affects the existing state of Korat Houses. Therefore, the preservation of vernacular architecture should place importance on the attitude of the residents and the academic practice simultaneously in order to achieve a sustainable development aim.

Author Biographies

การุณย์ ศุภมิตรโยธิน

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
 

วารุณี หวัง

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31