การเชื่อมโยงทางกายภาพของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ในชุมชนชนบทไทย:กรณีศึกษาตำบลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น และตำบลสระแจง จังหวัดสิงห์บุรี-Physical Connectivity of Self-Reliant Seniors in Thai Rural Community: Case Studies Tambon Khao Suan Kwang, KhonKaen

ผู้แต่ง

  • วีรยา เอี่ยมฉ่ำ
  • กำธร กุลชล
  • ณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์

คำสำคัญ:

การเชื่อมโยงทางกายภาพ, ชุมชนชนบท, ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้, Physical Connectivity, Rural Community, Self-reliant Elderly

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้อายุอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 22 ปี มีผลทำให้ประเทศไทยขาด
การเตรียมตัวและวางแผนสวัสดิการและบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ประชากรของผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งมีวิถีชีวิตอยู่
ในภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทรวมถึงที่สำคัญ คือ การมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง ดังนั้น ศักยภาพการเชื่อมโยงของ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์
ขอบเขตการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในชนบท และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะโครงข่ายการเชื่อมโยงทางสภาพแวดล้อม
ของผู้สูงอายุภายใต้ความแตกต่างของรูปแบบของการตั้งถิ่นฐานสังคมและวัฒนธรรม โดยการวิจัยมีสมมติฐานที่ว่า
ความแตกต่างของรูปแบบของการตั้งถิ่นฐาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะการเดินทางและการเชื่อมโยงสภาพแวดล้อม
ของผู้สูงอายุในชนบท การวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และสำรวจโครงข่าย
การเชื่อมโยงทางสภาพแวดล้อมกายภาพ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกัน คือ การตั้งถิ่นฐาน
แบบกลุ่ม และการตั้งถิ่นฐานแบบกระจาย ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของชุมชนที่มีความสำคัญกับผู้สูงอายุ ได้แก่
บ้านญาติ เพื่อนบ้านละแวกบ้าน วัด ร้านค้า พื้นที่เกษตรกรรม ส่วนองค์ประกอบที่สำคัญที่อยู่ภายนอกชุมชน คือ
โรงพยาบาลประจำอำเภอ โดยในด้านลักษณะการเชื่อมต่อของโครงข่ายพบว่า เส้นทางการเดินเท้ามีส่วนสำคัญในการ
เชื่อมต่อสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมภายในชุมชน พบว่าผู้สูงอายุมีระยะทางการเดินโดยเฉลี่ยประมาณ
0.2-1 กิโลเมตร นอกจากนี้ ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและองค์ประกอบของโครงข่าย เช่น
การมีศาลาหน้าบ้านตามเส้นทางในการตั้งถิ่นฐานแบบกลุ่มเพื่อเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ ดังนั้น โครงสร้างการ
เชื่อมต่อทางกายภาพของผู้สูงอายุในชนบทมีความสัมพันธ์กับลักษณะการตั้งถิ่นฐาน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เงื่อนไข
ทางเศรษฐกิจ และการบริการทางสาธารณสุข

 

ABSTRACT

Within 22 years, Thailand has rapidly turned into senior societies and needs appropriate welfares for seniors. Most of the Thai seniors have spent their self-reliant lifestyles in agricultural, in rural areas. Therefore, connective potentials of physical environments are vitally significant for seniors’ performance of everyday lifestyles. This paper aims to analyze seniors’ life-spaces and their boundaries in Thai rural areas, and to compare physically environmental networks in terms of morphological, social, and cultural differences. The research hypothesis is based on that morphological difference of the community affects attributes of the environmental networks for seniors’ connectivity in rural areas. The research employed mixed research methods—interviews, observations, and surveys on physical networks—on which two characteristic settlements were selected: clustering and sprawling. The results show that key elements of seniors’ life-spaces lie in relative and neighboring residences, temples, retails, and agricultural areas, as well as local hospitals. Pedestrian networks, in turn, play important roles for seniors’ connectivity within their communities in a range of 0.2-1 kilometer and social interactions. Moreover, communal morphology has effects on intimate social interactions and physical networks’ elements such as pavilions along streets in the clustering community as communally gathering places. In conclusion, the structure of physical connectivity of Thai rural seniors is correlated to communal morphology, social interactions, economic conditions, and public health services.

Author Biographies

วีรยา เอี่ยมฉ่ำ

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กำธร กุลชล

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31