การศึกษาการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังอาคาร กรณีศึกษา วัสดุไม้ประกอบพลาสติก A Study of Heat Transfer Through Building Walls:Case Study of Wood Plastic Composite

ผู้แต่ง

  • อมลวรรณ แสนนวล
  • ศุทธา ศรีเผด็จ
  • ชนินทร์ ทิพโยภาส

คำสำคัญ:

Heat Transfer, Thermal Resistance, Time Lag, Wood Plastic Composite, การถ่ายเทความร้อน, การต้านทานความร้อน, การหน่วงเหนี่ยวความร้อน, วัสดุไม้ประกอบพลาสติก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อน ของวัสดุไม้ประกอบพลาสติกที่ใช้
ภายนอกอาคาร โดยเป็นวัสดุที่ท????ำจากไม้และพลาสติกเพื่อลดการใช้ไม้จริง มีความสวยงามคงทนมากกว่า ซึ่งแบ่งได้
เป็น 3 รูปแบบ คือ ชนิด A มีความหนา 25 มิลลิเมตร ชนิด B มีความหนา 18 มิลลิเมตร และ ชนิด C มีความหนา
12 มิลลิเมตร เพื่อให้ทราบถึงความสามารถในการลดการส่งผ่านความร้อนให้กับผนังอาคาร การทดสอบจึงน????ำมา
ประยุกต์ใช้กับผนังวัสดุก่ออาคารทั่วไป ได้แก่ ผนังอิฐบล็อก ผนังอิฐมอญ และผนังคอนกรีตมวลเบา โดยการสร้างกล่อง
ทดสอบวัดค่าอุณหภูมิต่างๆ พบว่า เมื่อน????ำวัสดุไม้ประกอบพลาสติกมาประยุกต์ใช้กับผนังก่อแล้วมีผลท????ำให้อุณหภูมิ
ภายในกล่องทดสอบมีค่าต????่ำกว่ากรณีที่ไม่ใช้วัสดุปกปิดผิวใดๆ และมีอัตราการหน่วงเหนี่ยวความร้อนเพิ่มขึ้น ส่วนอัตรา
การหน่วงเหนี่ยวความร้อนพบว่า ผนังคอนกรีตมวลเบามีค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจากเดิม 2 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น
5 ชั่วโมง ส่วนอิฐบล็อกพบว่า มีค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจากเดิม 2 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 5 ชั่วโมงเช่นกัน ส่วน
อิฐมอญพบว่า มีค่าการหน่วงเหนี่ยวความร้อนจากเดิม 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นเป็น 3 ชั่วโมง ช่วงเวลาในการหน่วงเหนี่ยว
ความร้อนที่นานขึ้นจะส่งผลดีต่อผู้ใช้อาคารในเวลากลางวัน แต่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่เวลากลางคืนเนื่องจากผนัง
คายความร้อนที่สะสมไว้ออกมา เมื่อค????ำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของไม้ประกอบพลาสติกกับผนัง
วัสดุก่อต่างๆ พบว่า ผนังคอนกรีตมวลเบามีค่าต????่ำที่สุดเท่ากับ 0.837 W/m2.K ผนังอิฐมอญมีเท่ากับ 1.087 W/m2.K
และผนังอิฐบล็อกมีค่าเท่ากับ 1.088 W/m2.K ตามล????ำดับ ซึ่งสรุปได้ว่าการใช้วัสดุไม้ประกอบพลาสติกท????ำให้ความร้อน
จากภายนอกอาคารเข้าสู่อาคารได้น้อยลง และอุณหภูมิภายในกล่องทดสอบมีค่าต????่ำกว่าการไม่ใช้วัสดุปิดผิวใดๆ เลย

 

ABSTRACT
The purpose of this research was to study the heat transfer of the exterior wood plastic
composite (WPC). WPC is made from wood and plastic, it designed to reduce the use of wood and
this is more durable. These falls into three forms: type A with a thickness of 25 mm, type B with a
thickness of 18 mm and type C with a thickness of 12 mm to determine the ability to reduce heat
transfer to walls. WPC was installed as wall finishing on three wall materials which are concrete
block, red brick and autoclaved aerated concrete. The experiment was executed by creating the
test chamber measuring the temperature. The result showed that the time lad has increase when
to use WPC with wall materials, temperature inside the test box is lower than not using the
composite. The time lag of autoclaved aerated concrete increased from 2 hours to 5 hours, from
2 hours to 5 hours with concrete block and from 1 hour to 3 hours with red brick. The increase of
time lag is benefit to users of the building during the day time, but during the night time the
temperature inside the test box had increased due to heat transfer through building walls. When
calculating the coefficient of heat transfer of materials, the autoclaved aerated concrete had the
lowest U-value is 0.837 W/(m2.K), the red brick had 1.087 W/(m2.K) and the concrete block had
1.088 W/(m2.K). In conclusion, the study results demonstrated that the wood plastic composite can
reduce heat-gain and made the lower temperatures inside the test chamber compared to not
using the composite material.

Author Biographies

อมลวรรณ แสนนวล

นักศึกษา หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมเขตร้อน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ศุทธา ศรีเผด็จ

อาจารย์ประจ????ำ หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมเขตร้อน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชนินทร์ ทิพโยภาส

อาจารย์ประจ????ำ หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมเขตร้อน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31