การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจับฝุ่นละอองของพรรณไม้เลื้อย Comparision of the Ability to Capture Airbourne Dusts of Climbing Plants

ผู้แต่ง

  • พาสินี สุนากร
  • องอาจ ถาพรภาษี
  • พัชริยา บุญกอแก้ว

คำสำคัญ:

Airborne Dusts, Air Pollution, Climbing Plant, ฝุ่นละออง, มลภาวะทางอากาศ, ไม้เลื้อย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
ฝุ่นละอองในอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถแทรกเข้าไปในระบบทางเดิน
หายใจรวมถึงปอด ท????ำให้เกิดโรคต่างๆ ได้แก่ มะเร็ง หอบหืด ภูมิแพ้ และการระคายเคือง ฝุ่นในประเทศไทยส่วนใหญ่
เกิดขึ้นจากยานพาหนะบนถนน สถานที่ก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งก????ำเนิดเฉพาะ บทความวิจัยนี้ได้
มุ่งเน้นในวิธีธรรมชาติ โดยใช้พืชพรรณไม้เลื้อยในการดักกรองฝุ่นจากท้องถนน โดยการทดลองใช้โครงแผงไม้เลื้อย
ที่มีขนาดกว้าง 0.80 เมตร สูง 1.50 เมตร จากนั้นน????ำพืชพรรณไม้เลื้อยที่มีคุณสมบัติทางกายภาพของใบที่แตกต่างกัน
ได้แก่ พืชที่มีผิวใบด้าน (ต้นต????ำลึง) พืชที่มีผิวใบมัน (ต้นจันทร์กระจ่างฟ้า) และพืชที่มีผิวใบสากมีขนปกคลุม
(ต้นสร้อยอินทนิล) น????ำมาทดสอบในการดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 500 ไมครอนโดยการใช้ตะแกรงมุ้งลวดขนาด
0.50 มิลลิเมตร ในการกรองฝุ่น ทดสอบในกล่องทดลองโดยใช้พัดลมดูดอากาศจ????ำลองสภาพกระแสลม ผลการทดสอบ
พบว่าพรรณไม้เลื้อยที่มีลักษณะใบแตกต่างกันมีความสามารถแตกต่างกันตามการปกคลุมในช่วงเวลา 3 เดือน
ต้นสร้อยอินทนิลมีการดักจับฝุ่นได้มากถึงร้อยละ 63 ในขณะที่มีการปกคลุมของใบเพียงร้อยละ 44 เนื่องจากลักษณะ
ผิวใบที่สากมีขนปกคลุมท????ำให้เกิดแรงเสียดทานมากท????ำให้การดักจับฝุ่นละอองได้ดี ส่วนต้นต????ำลึง (พืชที่มีผิวใบด้าน)
และต้นจันทร์กระจ่างฟ้า (พืชผิวใบมัน) มีความสามารถในการดักจับฝุ่นได้น้อยกว่า โดยมีปริมาณของการดักจับฝุ่น
ร้อยละ 57.89 และ 66.27 ซึ่งใกล้เคียงกับร้อยละของพื้นที่ใบปกคลุมร้อยละ 54.12 และ 60.76 ตามล????ำดับ
แผงไม้เลื้อยสามารถใช้กรองฝุ่นได้ดี โดยน????ำไปติดตั้งบริเวณหน้าต่างด้านริมถนนของอาคารที่ระบายอากาศธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความสวยงามให้ความพึงพอใจและประโยชน์ทางจิตวิทยาแก่มนุษย์

 

ABSTRACT
Airborne dusts can harm human health by penetrating respiratory system including lung,
causing cancer, asthma, allergy or irritation. Dust in Thailand caused mainly by road vehicles,
construction sites, factories and some specific sources. This research aims to find the effective
climbing plants to filter airborne dusts from the road. The experiment was set up by installing 

panels with 0.80 meters (width) and 1.50 meters (height), then planted climbers with 3 different
physical characteristics of leaves: rough surface leaf (Blue Trumpet Vine) mat surface leaf (Ivy Gourd)
and glossy surface leaf (Hammock Viperstail) for particle filter test in chambers. Dust used in
experiment were smaller than 500 micron, filtered through insect screen of 0.50 mm.2 size,
collected from real environment. Simulating wind were installed using electric fan. The result shows
that the rough surface leaves of Blue Trumpet Vine (Thunbergia grandiflora) is the most effective
dust screen. It can filter up to 63% dust while leaf coverage was only 44% because the friction of
the rough surface helps collected dust more than others. For the matte and glossy surface leaves,
screening abilities are less effective, with 57.89 and 66.27% of filter which is relatively equal to 54.12
and 60.76% of coverage. Climbing plants can be effective dust screen to apply to opening of
buildings with natural ventilation. They also offer aesthetically pleasing and psychological benefit
to human.

Author Biographies

พาสินี สุนากร

อาจารย์ประจ????ำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

องอาจ ถาพรภาษี

นักศึกษา หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พัชริยา บุญกอแก้ว

อาจารย์ประจ????ำ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31