ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท : ศึกษาเชิงวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • พระจำลอง สุภจาโร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สติปัฏฐานสูตร, ธัมมานุปัสสนา, อริยสัจ 4

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักสติปัฏฐานสูตรตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกและผลงานของนักวิชาการในทางพระพุทธศาสนาแล้วสรุปผลการวิจัย

ผลจากการวิจัย พบว่า 1. สติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม มีสติกำหนดรู้อยู่เสมอต่อเนื่องจนเห็นความไม่เที่ยงของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ตามลำดับเกิดปัญญาญาณ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจ 2. ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การพิจารณารู้กายในกาย การรู้สุข รู้ทุกข์ในเวทนา รู้จิตในจิต จนเกิดปัญญารู้สภาวธรรมในธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยซึ่งพระพุทธองค์รับรองว่าทางนี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะปริเทวะดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรม และทำให้แจ้งพระนิพพาน 3. วิเคราะห์ธัมมานุปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานสูตรในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ผู้ศึกษาและปฏิบัติทั้งหลายพึงตั้งสติพิจารณานิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 เห็นธรรมในธรรมกำหนดรู้สภาวธรรมว่าเป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พิมพ์ครั้งที่ 4. พระไตรปิฎก อรรถกถา ชุด 91. เล่มที่ 6, 14, 17, 18, 22, 27, 30, 36, 68, 77, 78, นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2545). พิมพ์ครั้งที่ 10. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระธรรมมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 1 เล่ม 1 ว่าด้วยวิปัสนากรรมฐานทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระธรรมมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร). (2554). พิมพ์ครั้งที่ 3. วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพฯ: ประยูรพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

สมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)). (2555). สัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านสารีบุตรเถระ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทพันธ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พิมพ์ครั้งที่ 11. พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถร). (2554). อริยวังสปฏิปทา. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนา. (2555). วิปัสสนานัย เล่ม 1 มหาสติปัฏฐานสูตร. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) ดร. ตรวจชำระ. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) รจนา. (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺโม (ผศ.ดร.). (2557). ทฤษฎีและการปฏิบัติกัมมัฏฐาน. กรุงเทพฯ. มปพ.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺโม (ผศ.ดร.). (2552). สติปัฏฐานสูตร. กรุงเทพฯ. มปพ.

พระครูปลัดศุภชัย ปริชาโน (ฉัตรคู่). (2554). ศึกษาอธิโมกข์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี (พรหมจันทร์). (2551). การศึกษาวิเคราะห์หลักปฏิบัติอานาปานสติภาวนาเฉพาะกรณีคำสอนพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิสูตน์ จนฺทวํโส (พะนิรัมย์). (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-03-2019