เบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนากับบัญญัติ 10 ในปรัชญาคริสตศาสนา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สมบัติ กองกะมุด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เบญจศีล, ปรัชญาพุทธศาสนา, ปรัชญาคริสตศาสนา

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาบัญญัติ 10 ในปรัชญาคริสตศาสนา 3) เพื่อวิเคราะห์เบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนากับบัญญัติ 10 ในปรัชญาคริสตศาสนาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ เอกสารทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และเอกสารงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) เบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนา คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการงดเว้นจากการกระทำบาปทุจริต 5 ประการได้แก่ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ และงดเว้นจากการดื่มสุราและการเสพสิ่งเสพติด 2) บัญญัติ 10 ประการในปรัชญาคริสตศาสนา คือ กฎแห่งพระเจ้า หรือหัวข้อศีลธรรมของศาสนาคริสต์บัญญัติออกเป็น 10 ประการดังต่อไปนี้คือ อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือไปจากเราอย่าทาและกราบไหว้รูปเคารพใด ๆ อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมควร อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ จงนับถือบิดามารดา อย่าฆ่าคน อย่าผิดประเวณี อย่าลักทรัพย์ อย่าเป็นพยานเท็จ และอย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น 3) การวิเคราะห์เบญจศีลในปรัชญาพุทธศาสนากับบัญญัติ 10 ในปรัชญาคริสตศาสนา ด้านความสัมพันธ์และความเหมือนได้ผลสรุปดังนี้ เบญจศีล ข้อ 1 เว้นจากการฆ่าสัตว์ บัญญัติ ข้อ 6 อย่าฆ่าคน, เบญจศีล ข้อ 2 เว้นจากการลักทรัพย์ บัญญัติ ข้อ 8 อย่าลักทรัพย์, เบญจศีล ข้อ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม บัญญัติ ข้อ 7 และ 10 อย่าทาผิดประเวณี-อย่าโลภในภรรยาของเพื่อนบ้าน, เบญจศีล ข้อ 4 เว้นจากการพูดเท็จ บัญญัติ ข้อ 9 อย่าเป็นพยานเท็จ, เบญจศีล ข้อ 5 เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในข้อนี้คริสตศาสนาจะไม่ได้บัญญัติห้ามไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีอยู่นอกบัญญัติสิบประการ มีคาสอนกล่าวไว้ว่าอย่าเมาเหล้าองุ่น เพราะจะทาให้เสียคน ถือว่าการดื่มสุรานี้ก็เป็นบาปเหมือนกัน และการวิเคราะห์ด้านความสัมพันธ์และความต่างได้ผลสรุปดังนี้ พระพุทธศาสนามีหลักคาสอนที่เป็นระบบทางด้านจริยศาสตร์ขั้นมูลฐาน คือ เบญจศีล ได้แก่ ศีล 5 เบญจธรรม ได้แก่ธรรม 5 เป็นข้อปฏิบัติฝ่ายศีลและธรรมจุนเจือกัน ส่วนในคริสตศาสนานั้นถือว่าศาสนาและศีลธรรมเป็น สิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อพูดถึงศาสนาก็เป็นการพูดถึงหลักศีลธรรมไปในตัว หลักคริสตศาสนาในคัมภีร์ใหม่มีลักษณะรักสันติ ใฝ่สงบ มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ พระเยซูคริสต์ได้มาเน้นพิเศษ โดยเฉพาะบัญญัติแห่งความรักถือเป็นบัญญัติที่สาคัญที่สุด ความรักในที่นี้มิใช่ความรักระดับต่าระดับทางเพศ แต่เป็นความรักในระดับสูงเป็นสากล ปราศจากขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุด 91. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คณะกรรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์.(2552). พิมพ์ครั้งที่ 3. พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ภาคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพมหานคร: จันทราทิพย์การพิมพ์.

กีรติ บุญเจือ. (2529). หลักความเชื่อของชาวคริสต์คาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2545). พิมพ์ครั้งที่ 10. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, บาทหลวง. (2548). คริสตจริยศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: แผนกการพิมพ์โรงเรียนดอนบอสโก.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2550).พิมพ์ครั้งที่ 4. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พิมพ์ครั้งที่ 21. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พิมพ์ครั้งที่ 3. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

มีชัย กิจบุญชู, พระคาร์ดินัล. (1990). ความรักของพระเป็นเจ้าและประชากรของพระองค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ พี.เอส.เซอร์วิส.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2520). เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมัคร บุราวาศ. (2552). พิมพ์ครั้งที่ 4. พุทธปรัชญา : มองพระพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

เสฐียร พันธรังษี. (2534). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจิตรา อ่อนค้อม. (2545). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). พิมพ์ครั้งที่ 2. คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคณ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2529). ศาสนาคริสต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอดิสัน.

ศูนย์คริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2550). ประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพมหานคร: จูนพับลิชชิ่ง.

แสง จันทร์งาม. (2534). พิมพ์ครั้งที่ 2. ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

จาตุรงณ์ สาระคุณ. (2537). “เปรียบเทียบจริยศาสตร์ในพุทธศาสนาและคริสตศาสนา”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรบัณฑิต. วิทยาลัยแสงธรรม.

ชัญญาภัค วงศ์บา. (2556). “ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเบญจศีลกับเบญจธรรม”. วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

นภชนก พรมสอน. (2556). “อิทธิพลของศีล 5 ในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียน ในยุคปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยลัย.

ปิยะวงศ์ ร่มรื่นวาณิชกิจ. (2554). “ศึกษาทัศนคติทางความเชื่อสมาชิกคริสตจักรที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบคริสตศาสนสถาน (กรณีศึกษา คริสตจักรความหวัง)”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาศิลปากร.

พระมหาณรงค์ศักดิ์ โสภณสิทฺธิ (โสภา). (2549). “ศึกษาบทบาทการเผยแพร่พุทธธรรมของพระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิสิฐคณาภิรักษ์. (2551). “ศึกษาเปรียบเทียบความรักในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดเรื่องความรักของคริสตศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุรพงษ์ ลาบุดดี. (2546). “เปรียบเทียบมาตรการตัดสินความดี ความชั่ว ตามแนวพุทธจริยศาสตร์กับคริสตจริยศาสตร์”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรบัณฑิต. วิทยาลัยแสงธรรม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016