ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รุ่นที่ 14 ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คำสำคัญ:
นักศึกษา, ความพึงพอใจ, งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนักบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นบ.ปภ.) รุ่นที่ 14 ที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายข้อที่มีค่ามากที่สุด 6 ลำดับแรก ในเรื่องระดับความพึงพอใจด้านเนื้อหาของสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ข้อมูลมีความครบถ้วน/สมบูรณ์ ข้อมูลมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ ข้อมูลมีความทันสมัย เนื้อหาเข้าใจง่าย ข้อมูลที่ได้รับตรงตามความต้องการ และข้อมูลมีประโยชน์/น่าสนใจ สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านปริมาณของสื่อประชาสัมพันธ์จำนวนที่จัดส่งให้ อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ ได้แก่ ปริมาณจุลสาร ระดับมาก 4 ข้อ ได้แก่ ปริมาณคู่มือการ์ตูนเล่มเล็ก ปริมาณแผ่นพับ ปริมาณโปสเตอร์ และปริมาณหนังสือแนะนำกรม ด้านรูปแบบเรื่องความชัดเจนของข้อความที่แสดง ระดับมากที่สุด 2 ข้อ ได้แก่ ความเหมาะสมของขนาดตัวอักษร และความเหมาะสมของแบบอักษร ระดับมาก 2 ข้อ ได้แก่ ความเหมาะสมของสีอักษร และความคมชัดของข้อความ ด้านเมนู/หัวข้อ ระดับมากที่สุด 3 ข้อ ได้แก่ ตำแหน่งมีความเหมาะสม ข้อความสื่อเข้าใจง่าย และการแบ่งประเภท/หมวดหมู่ ด้านภาพรวมทั่วไป ระดับมากที่สุด 3 ข้อ ได้แก่ ความสวยงาม/ความน่าสนใจ สีของรูปเล่มทั้งหมด (ปก,เนื้อหา) และการออกแบบ
References
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินการของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการจำกัด. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉัตรชัย พงษ์พิจิตร. (2535). ทัศนคติที่มีต่อการรับรู้เรื่องปัจจัยด้านต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร.การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาริณี กวีวุฒิการ. (2536). พฤติกรรมการรับรู้ของบุคคลที่มีความพึงพอใจต่อสิ่งเร้า. การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชริณี เดชจินดา. (2535). ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อศูนย์บริการข่าวสารการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศึกษากรณีการให้บริการข่าวสารการท่องเที่ยว สำนักงานใหญ่ (แม้นศรี). ภาคนิพนธ์ พบ.ม. (พัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (S.M. Freud) อ้างจากสุวรรณา สินธ์สุวรรณ และคณะ. (2549). พิมพ์ครั้งที่ 4. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุ๊คพลับลิชชิ่ง.
ดิเรก รัตน์สุข. (2538). ความพึงพอใจของบุคคลที่มีต่อการทำงานในเชิงบวก.การค้นคว้าแบบอิสระเชิงวิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประกายดาว ดำรงพันธ์. (2536). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการด้านสินเชื่อ: กรณีศึกษาศูนย์ธุรกิจสะพานขาว ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรียากร สมบูรณา. (2535). พิมพ์ครั้งที่3. จิตวิทยาผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซีเอ็ด
บุ๊คพลับลิชซิ่ง.
ปรียากร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). ปัจจัยชี้บ่งถึงปัญหาที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558. จาก http://www.research.doae.go.th/Textbook.
ทฤษฎีความพึงพอใจ. เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/492000.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พิมพครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงใหม่. พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย ในอําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเทพ พานิชพันธ์. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตการเกษตร จังหวัดอุบลราชธานี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.