การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในอาทิตตปริยายสูตร

ผู้แต่ง

  • พระมหาธิตินัยต์ ฐิตธมฺโม สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การศึกษาเชิงวิเคราะห์, อาทิตตปริยายสูตร, หลักพุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของอาทิตตปริยายสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในอาทิตตปริยายสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในอาทิตตปริยายสูตร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประวัติและความเป็นมาของอาทิตตปริยายสูตร สรุปว่าเป็นพระสูตรที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เหล่าชฎิลสามพี่น้องและบริวาร 1,000 รูป ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธ 2. หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในอาทิตตปริยายสูตร สรุปว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คือ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ และสัมผัส เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟกิเลส 3 กอง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ร้อนเพราะเพลิงทุกข์คือชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส 3. วิเคราะห์หลักพุทธปรัชญาที่ปรากฏในอาทิตตปริยายสูตร พบว่า 1) ราคะ ความรู้สึกที่เกิดความกำหนัด รักใคร่ ยินดี มีโทษน้อยแต่คลายช้า ให้เจริญกัมมัฏฐานประเภทกายาคตาสติ 2) โทสะ ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะความไม่ยินดีไม่พอใจ มีโทษมากแต่คลายเร็ว ให้เจริญพรหมวิหาร 4 3) โมหะ ความหลง ความงมงาย มีโทษมากด้วยคลายช้า ให้เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2546). พิมพ์ครั้งที่ 1. พุทธเจ้า พุทธกิจ พรรษาที่ 1-13.. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ. (2504). ประมวลศัพท์ศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ. (2504). (2535). พิมพ์ครั้งที่ 1. หนังสือพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช (ป.ธ.9). (2553). พิมพ์ครั้งที่ 4. ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสน์ “คำว่าวัด”. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พิมพ์ครั้งที่ 6. พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พิมพ์ครั้งที่ 35. ทำอย่างไรถึงจะหายโกรธ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พิมพ์ครั้งที่ 14. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พิมพ์ครั้งที่ 20. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พิมพ์ครั้งที่ 11. พุทธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมปอง มุทิโต. (2547). พิมพ์ครั้งที่ 2. อภิธานอภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์ พริ้นติ้ง.

พระราชรัตนรังษี (ว.ป. วีรยุทฺโธ). (2544). สู่แดนพระพุทธองศ์ อินเดีย – เนปาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

ฟื้น ดอกบัว. (2555). พิมพ์ครั้งที่ 4. พุทธปรัชญาแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยาม.

มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ. (2535). พจนานุกรมไทย-บาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกุข.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

วศิน อินทสระ. (2544). พุทธประวัติสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

วศิน อินทสระ. (2550). วิธีลดละความโกรธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดา.

วิโรจ นาคชาตรี. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 4. พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2546). พิมพ์ครั้งที่ 3. 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า ฉบับรวมเล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2556). ความสุขหาได้ไม่ยาก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุรวัฒน์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2546). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2543) .พิมพ์ครั้งที่ 3. คำบรรยายพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. (2554). พิมพ์ครั้งที่ 6. พระสูตรดับทุกข์. กรุงเทพมหานคร: ศิริศิลป์การพิมพ์.

อิศรา นุตสาระ. (2557). พิมพ์ครั้งที่ 4. สาระจากพระไตรปิฎก เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

กรรณิการ์ ขาวเงิน. (2554). “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอายตนะตามทรรศนะของพุทธทาสภิกขุ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสนามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปวริศร์ ญาณศิริ. (2552). “การพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธสาสนาเถรวาท : ศึกษาเฉพาะจริต 6”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระบุญเยี่ยม ปุญญฺธโน(ผลเจริญ). (2553). “การศึกษาความโกรธในพุทธศาสนาเถรวาท”.วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรพล สุขแสง. (2546). “การศึกษาคำสอนเรื่องกิเลสในพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหานคร จรณธมฺโม (เพชรหมื่นไวย). (2551). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์พระบาลีอาทิตตปริยายสูตร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุระ กิตติโสภโณ (กลิ่นสันเทียะ). (2550). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความโลภในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

แม่ชีสุนันทา เรียงแหลม. (2556). “อุบายวิธีบรรเทาอกุศลมูลในชีวิตประจำวัน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017