ปรัชญาประเพณีของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พนมกร คำวัง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญาประเพณี, ศาสนาคริสต์, อิทธิพล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความเรื่องนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของศาสนาคริสต์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปรัชญาที่แฝงอยู่ในหลักคำสอนและพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ และ 3) เพื่อศึกษาปรัชญาประเพณีของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ศาสนาคริสต์ได้เข้าสู่สังคมไทยตั้งแต่ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมิชชันนารีชาวยุโรป ยุคแรกเป็นการเผยแผ่โดยนิกายโรมันคาทอลิก แม้จะถูกปิดกั้นในช่วงแรก แต่เมื่อมีความจำเป็นทางการทูต การเมือง มิชชันนารีเหล่านี้จึงได้รับการยอมรับและมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้นตามลำดับ 2) ปรัชญาที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ทุกพิธีกรรมมุ่งเน้นให้เชื่อและศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า ศีลล้างบาปและศีลแก้บาป เป็นแนวคิดที่มนุษย์ย่อมทำผิดได้แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ควรได้รับโอกาสในการแก้ไขความผิดบาปนั้น ศีลสมรสมุ่งเน้นปรัชญาครอบครัวให้อยู่ร่วมด้วยความซื่อสัตย์ต่อกัน ศีลมหาสนิทมุ่งเน้นให้เห็นถึงความรักที่พระเยซูมีต่อชาวโลก 3) ปรัชญาประเพณีของศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ปรัชญาแบบศาสนาคริสต์แฝงอยู่ในสังคมไทยจนแน่นแฟ้นมั่นคงในรูปแบบของวัฒนธรรมและวิทยาการ เช่น ภาพยนตร์ เพลง การสาธารณสุข การศึกษา การเมือง เป็นต้น

References

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. (2558). ศาสนวิทยา. กรุงเทพฯ: สถาบันศาสนวิทยา.

โสภนา สุดสมบูรณ์. (2551). วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2546). ประวัติศาสนาต่างๆและปรัชญาธรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2545). ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ.

คทาวุธ โลกาพัฒนา. (2542). 50 บี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน. กรุงเทพฯ: อุดมศึกษา.

ชำนิ มโนรม. (2535). สงครามศาสนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย.

พระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร ป.ธ.9). (2533). ศาสนาต่างๆ.กรุงเทพฯ: สภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิทยาลัยแสงธรรม.(2533). ประวัติพระศาสนจักรคาทอลิกไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา-สังคายนาวาติกัน 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยแสงธรรม.

ถนอม ปินตา และพิษณุ อรรฆภิญญ. (2525). พระคุณพระเจ้าในรัตนโกสินทร์สมัย. กรุงเทพฯ: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

สมาคมนักเรียนวังหลังวัฒนา. (2521). 150 ปีของโปรเตสแต้นท์ ในประเทศไทย พ.ศ. 2371-2521. กรุงเทพฯ: โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และคริสตจักรที่ 5 วัฒนาวิทยาลัย.

นันทชัย มีชูธน. (2550). 175 ปี พันธกิจคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ประชุมทอง.

http://www4.eduzones.com. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/8.html. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

https://prezi.com/7i-l7vq0zffw/presentation. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

https://www.slideshare.net/TeeTre/2-77330129. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenbangle&month=092011&date=07&group=1&gblog=1. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

https://th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017