ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
คำสำคัญ:
ทรัพยากรมนุษย์, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, หลักพุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยทั่วไป 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยทั่วไป สรุปได้ว่าเป็นหลักในการพัฒนาศักยภาพทุกด้านอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเรียนรู้วิธีการ เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีขึ้นเพื่อพัฒนาการมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและการดำเนินชีวิต 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พบว่าพุทธศาสนามองว่ามนุษย์ที่พัฒนาแล้วคือมนุษย์ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมให้เกิดคุณสมบัติภายนอกและภายในอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ คุณสมบัติทางกาย ทางศีล ทางจิต และทางปัญญา ที่ส่งผลต่อตนเองอย่างรอบด้าน เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และวัตถุ ซึ่งแสดงออกผ่านพฤติกรรมทางกายและวาจา สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีของนักวิชาการเรื่องพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย 3. วิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สรุปว่า หลักธรรมในคัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมด 23 ตอน เป็นหลักธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะและมีสติปัญญา รวมเรียกว่าเป็นหลักธรรมในการพัฒนาศักยภาพในมนุษย์นั่นเอง และหลักคำสอนในคัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดรวมลงในไตรสิกขาได้อย่างเป็นระบบเป็นอย่างยิ่ง
References
กีรติ บุญเจือ. (2522). สารานุกรมปรัชญา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พระพรหมคุณาภรณ์. (ป. อ. ปยุตฺโต) (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (สมเด็จพระพุทธาจารย์, แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระพุทธโฆษะ. (2521). พระวิสุทธิมัคค์ : พระคัมภีร์ประจำครอบครัวชาวพุทธ. แปลโดยพุทธศาสนสมาคม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา.
พระธรรมปิฎก. (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก. (2539). จะพัฒนาคนได้อย่างไร พุทธศาสนากับการกับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธรรม.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2535). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 1 ตอน 1. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2536). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 1 ตอน 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2534). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 2 ตอน 1. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2534). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 2 ตอน 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2536). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 3 ตอน 1. กรุงเทพ : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2534). วิสุทธิมรรค แปล ภาค 3 ตอนจบ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2528). มนุษย์และแนวทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามหลักพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
วศิน อินทสระ. (2521). สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
วนิดา เขียวขำ. (2553). การวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านการพัฒนามนุษย์จากองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา. คณะมนุษย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระอธิการไพฑูรย์ วิปุโล (การมงคล). (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (2547). การศึกษาวิเคราะห์ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท: ศึกษาเฉพาะใน ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสยาม ราชวัตร. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบไตรสิกขาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับคัมภีร์วิมุตติมรรค. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฌาน ตรรกวิจารย์. (2550). แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนาศาสตร์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณัฐหทัย ชลายนวัฒน์. (2546). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์พัฒนาแรงงาน และสวัสดิการมหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัชสร บันดาลชัย. (2554). การพัฒนามนุษย์เชิงพุทธกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืนของ องค์การ กรณีศึกษา: บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซค คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2550). รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพรสวรรค์ กิตฺติวโร. (2554). ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวกุศลกรรม 10 ประการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราเชนทร์ วิสารโท. (2546). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธรรมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระราชันย์ อุฏฐานรโต. (2551). การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ตามแนวของพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะเฉพาะกรณีพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระศักดา วิสุทธิญาโน. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. เข้าถึงได้จาก: https://rirs3.royin.go.th/ (วันที่ค้นข้อมูล: 10 พฤศจิกายน 2557)
สานิตย์ หนูนิล. (2556). การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33 (1), 131-145
พรชัย เจดามาน.(2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.สืบ 26 ตุลาคม 2558.เข้าถึงได้จาก https://www.oknation.net/blog/jedaman/2013/03/29/entry-1(สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2558)
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์:ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล
สานิตย์ หนูนิล. (2556). การพัฒนาจริยธรรมในองค์การผ่านกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33 (1), 131-145
อำพล บุดดาสาร. (2556). การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.