ปรัชญาประเพณีของพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
คำสำคัญ:
ปรัชญาประเพณี, พระพุทธศาสนา, อิทธิพลบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของศาสนาพุทธในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีไทย 3) เพื่อศึกษาปรัชญาประเพณีของศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ผลการศึกษา พบว่า 1) ศาสนาพุทธได้เข้าสู่สังคมไทยตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เข้าสู่ดินแดนที่เรียกในสมัยนั้นว่าสุวรรณภูมิ ได้แก่ พื้นที่แหลมอินโดจีนในปัจจุบัน ประเทศไทยตอนนั้นเป็นศูนย์กลางของดินแดนสุวรรณภูมิ แต่ขณะนั้นยังมิได้เป็นประเทศไทย พุทธศาสนาในยุคแรกเป็นแบบเถรวาทอย่างที่พระเจ้าอโศกมหาราชและชาวแคว้นมคธนับถือ โดยสันนิษฐานว่าแห่งแรกที่เข้ามาประดิษฐานคือตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคือพื้นที่ในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี 2) ประเพณีไทย มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย 3) ปรัชญาประเพณีของศาสนาพุทธที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย สรุปได้ว่า คนไทยมีนิสัยเยือกเย็น โอบอ้อมอารี เมตตากรุณา เคารพ อ่อนน้อม ถ่อมตน กตัญญูกตเวที ขยัน อดทน สุภาพ และไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น เพราะอิทธิพลจากหลักคำสอนของพุทธศาสนา
References
พูนพิสมัย ดิศกุล (หม่อมเจ้าหญิง). (2545). ประเพณีพิธีไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
ภาษิต สุขวรรณดี. (2556). วิถีไทยในพุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
วศิน อินทสระ. (2535). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญกิจ.
เสถียร โพธินันทะ. (2540). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมชัย ใจดี ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2545). ประเพณีและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
https://sites.google.com/site/thophanjuly/prapheni/prapheni-keiyw-kab-sasna. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 เดือน มกราคม 2561).
https://www.mcu.ac.th/site/bud09.php. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 เดือน มกราคม 2561).
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/buddhism_culture/02.html. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 15 เดือน มกราคม 2561).
https:/www.baanjomyut.com/library_2/extension3/history_of_buddhism/02.html. (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ 2561).