เยาวชนกับการบรรลุธรรมในมุมมองของพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน) นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เยาวชน, การบรรลุธรรม, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อจะหาคำตอบเกี่ยวกับความหมายของเยาชนซึ่งพบว่าเยาชนนั้นหมายถึง บุคคลที่มีอายุประมาณ 13-19 ปี หรือบุคคลที่เริ่มมีอายุเข้าสู่วัยรุ่นจนถึงวัยก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่นับเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ และประเด็นการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ซึ่งการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นมีความหมายตั้งแต่การเข้าใจธรรมในระดับต้น คือ ระดับโลกียะ ที่สามารถเข้าใจหลักธรรมและสามารถนำหลักธรรมเหล่านั้นมาประพฤติปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมถูกต้องเพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต และการบรรลุธรรมในความหมายที่สูงขึ้นไป คือ การบรรลุธรรมในระดับมรรคผลในระดับโลกุตระ และประเด็นสุดท้ายเพื่อหาคำตอบว่า “เยาวชนนั้นสามารถที่จะบวชได้หรือไม่ ?” ซึ่งจากศึกษาหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกเยาวชนนั้นสามารถที่จะบวชได้ตราบใดที่เยาวชนผู้นั้นไม่ขาดคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการขอบวชที่ปรากฏอยู่ในข้อบัญญัติในพระวินัยปิฎกและ “เยาวชนนั้นสามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่ ?” จากหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกเยาวชนนั้นสามารถที่จะบรรลุธรรมได้ ตราบใดที่เยาวชนผู้นั้นไม่จัดอยู่ในส่วนของความเป็นอภัพพบุคคล ดังนั้น ความเป็นเยาวชนนั้นจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อจะบรรลุธรรม

References

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, รศ.ดร. (2541). พิมพ์ครั้งที่ 8. กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ประสาท อิศรปรีดา, ผศ. (2523). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ศึกษิตสยาม.

พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2556). พระนิพพาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโ. (2545). ยุวธรรมสาหรับยุวชน. สุราษฎร์ธานี: มูลนิธิสวนโมกขพลาราม.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคาวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พรรณวดี สนธิทรัพย์. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชา 22007 พัฒนาการมนุษย์ เรื่อง “พัฒนาการวัยรุ่นตอนต้น”. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามฺรฏฺเตปิฏก . กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2544). พิมพ์ครั้งที่ 4. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สุชา จันทน์เอม, รศ. (2529). จิตวิทยาวัยรุ่น (ADOLESCENT PSYCHOLOGY). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2549). พิมพ์ครั้งที่ 3. พระพุทธศาสนาสอนเด็ก. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2536). พิมพ์ครั้งที่ 36. บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่ 2 สมาสและตัทธิต (หลักสูตรเปรียญธรรมตรี). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

อริสา กรวีร์. (2551). ชีวิตรักวัยรุ่น ช่างวุ่นนัก. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ไพลิน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018