การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความรุนแรงในภาพยนตร์ของเควนติน ทาแรนติโน่ ด้วยหลักปรัชญาและศาสนา
คำสำคัญ:
ความรุนแรง, เควนติน ทาแรนติโน่, หลักปรัชญาและศาสนาบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความรุนแรงในภาพยนตร์ 2. เพื่อศึกษาความรุนแรงในภาพยนตร์ของเควนติน ทาแรนติโน่ 3. เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงในภาพยนตร์ของเควนตินทาแรนติโน่ ด้วยหลักปรัชญาและศาสนา
จากการศึกษาพบว่า : 1. ความรุนแรงในภาพยนตร์ พบว่า ความรุนแรงเป็นประเด็นที่ได้รับการนำเสนออย่างต่อเนื่องในภาพยนตร์ เนื้อหาความรุนแรงในภาพยนตร์ถูกนำเสนอไปในประเด็นที่หลากหลาย ทั้งความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (structural Violence) และความรุนแรงทางกายภาพ (Physical Violence) ซึ่งเป็นความรุนแรงที่คุ้นชินมากที่สุดในภาพยนตร์ มีความสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความรุนแรงในพุทธปรัชญาเถรวาทว่า ความรุนแรงนั้น คือ การก่อความชั่วอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นทางแห่งบาปหรืออกุศลที่เราไม่ควรก้าวล่วง เรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3 2. ความรุนแรงในภาพยนตร์เรื่อง เควนติน ทาแรนติโน่ พบว่า ภาพยนตร์แต่ละเรื่องของเควนติน ทาแรนติโน่ มีแก่นความคิด (Theme) ในการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงเป็นหลักสำคัญ และมีความเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาความเสมือนจริง (simulacra) และสภาวะล้ำจริง (hyper reality) ตามแนวคิดของ ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Beaudrillard) และเชื่อมโยงกับหลักศาสนา คือ แนวคิดจากคริสต์ศาสนา เรื่องกิเลสและตัณหาของมนุษย์ และเรื่องทาสและการปลดปล่อย ส่วนแนวคิดจากพุทธศาสนาปรัชญาเถรวาทสอดคล้องกับเรื่องจริต 6 ว่าตัวละครเอกที่รากฏอยู่ในภาพยนตร์นั้นมีลักษณะ (character) ชัดเจนว่าเป็นผู้มีจริตแบบโทสจริต และโมหจริต 3. วิเคราะห์ความรุนแรงในภาพยนตร์ของเควนติน ทาแรนติโน่ ด้วยหลักปรัชญาและศาสนา พบว่า ความรุนแรงในภาพยนตร์ของเควนติน ทาแรนติโน่ เมื่อพิจารณาตามหลักอกุศลกรรมบถ 10 นั้น ได้สะท้อนให้เห็นภาพความรุนแรงได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางตั้งแต่ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร (มโนกรรม) สะท้อนให้เห็นว่าตัวละครส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจความพยาบาทและมีมิจฉาทิฏฐิ ไม่สามารถประคองชีวิตให้ดำเนินไปอย่างถูกทำนองคลองธรรมได้ จึงเลือกแสดงออกถึงความรุนแรงนั้นออกมาทางกายกรรมและวจีกรรม การใช้ความรุนแรงในเชิงกายกรรมพบว่า ตัวละครมักใช้การฆ่าและทำร้ายกัน (ปาณาติบาต) มาเป็นเครื่องมือในการระบายความโกรธเกลียดและแก้แค้น ในเชิงวจีกรรม พบว่ามีการใช้ การโกหก (มุสาวาท) การพูดส่อเสียด (ปิสุณาวาท) และการพูดคำหยาบ (ผรุสวาท) มาทำร้ายตัวละครฝ่ายตรงข้าม และความรุนแรงเชิงวจีกรรมมักเป็นชนวนก่อให้เกิดความรุนแรงในเชิงกายกรรมตามมา
References
กฤษดา เกิดดี. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กฤษดา เกิดดี. (2548). พิมพ์ครั้งที่ 1. การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.
เกษม เพ็ญภินันท์. (2549). “สู่พรมแดนความรู้...เรื่องวัฒนธรรมบริโภค : ความเป็นปกติวิสัยของการบริโภควัฒนธรรมในชีวิตประจำวัน”. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
จันทนี เจริญศรี. (2545). โพสต์โมเดิร์นกับสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
เชิดชัย เลิศวิจิตรเลขา. (2548). พิมพ์ครั้งที่ 1. คริสตจริยศาสตร์ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: แผนกการพิมพ์โรงเรียนดอนบอสโก.
ฐานชน จันทร์เรือง และสิตางศ์ เจริญวงศ์. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 1. ปรัชญาในภาพยนตร์. สมุทรปราการ: สำนักพิมพ์ปล่อย
แดงต้อย มาลาสิทธิ์. รศ. (2553). พิมพ์ครั้งที่ 2. อิทธิพลของพระคัมภีร์ไบเบิลต่อวรรณกรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), (2545). พิมพ์ครั้งที่ 11. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พิมพ์ครั้งที่ 15. พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พิมพ์ครั้งที่ 11. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม, ผ.ศ. ดร.(2558). กรรมฐานเบื้องต้น. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย. เอกสารการสอน. สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (มปพ.) พระคริสตธรรมคัมภีร์. กรุงเทพฯ.
สมาน งามสนิท. เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสรรค์และผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 1-8.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราส.
สุภางค์ จันทวนิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุระชัย ชูผกา. (2558). มายาคติในการสื่อสารออนไลน์ของเว็บไซต์การพนัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, ปีที่ 10 ฉบับ ที่ 2, หน้า 55-64
เสรี พงศ์พิศ. (2539). พิมพ์ครั้งที่ 1. ศาสนาคริสต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอดิสัน
อนุช อาภาภิรมย์, (2543). พิมพ์ครั้งที่ 1. ฉากความรุนแรงในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.
Brian Ashcraft. (2012). Kill Bill's Most Violent Scene Required Blood, Wires, and Close Haircuts. Retrieved July, 2014, 22, from https://kotaku.com/5936137/kill-bills-most-violent-scene-required-blood-wires-and-close-haircuts/
Kale Whorton. (2017). Quentin Tarantino. Retrieved December 11, 2017, from https://www.imdb.com/name/nm0000233/
Morales, X. (2003). Kill Bill Beauty and Violence. Retrieved July, 2014, 19, from http://hlrecord.org/2003/10/kill-bill-beauty-and-violence/
Quentin Tarantino. (2017). Inglourious-Basterds Original Screenplay. Retrieved August 9, 2018, from https://www.scribd.com/doc/25017184/Inglourious-Basterds-Original-Screenplay
Quentin Tarantino. (2017). Kill Bill Original Screenplay. Retrieved August 9, 2018, from https://indiefilmhustle.com/quentin- tarantino-screenplays-download/
Quentin Tarantino. (2017). The Hateful Eight Original Screenplay. Retrieved August 9, 2018, from https://indiefilmhustle.com/quentin-tarantino-screenplays-download/
The Internet Movie Database. (2017). Quentin Tarantino Awards. Retrieved December 11, 2017, from https://www.imdb.com/name/nm0000233/awards?ref_=nm_awd
Time. (2010). Top 10 Ridiculously Violent Movie. May 11, 2017 from http://entertainment.time.com/2010/09/03/top-10-ridiculously-violent-movies/slide/all/
WHO. (2016). Definition and typology of violence. October 5, 2016 from http://www.who.int/Violence-prevention /approach/definition/en/
กอบแก้ว ไทยืนยงศักดิ์. (2543). เนื้อหาความรุนแรงในภาพยนตร์โฆษณาที่ปรากฏในสื่อโทรทัศน์ ระหว่าง พ.ศ. 2541-2542. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพนธ์ ตติยวรกุลวงศ์. (2553). การเล่าเรื่องและทัศนคติของผู้ชมเกี่ยวกับความรุนแรงในภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ. (2554) การสร้างสุนทรียภาพแห่งความรุนแรงในภาพยนตร์ของมิชาเอลฮาเนเคอ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
เควนติน ทาแรนติโน่ (ผู้กำกับ). (2547). Kill Bill Vol.1 (นางฟ้าซามูไร ภาค 1) [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: แมงป่อง.
เควนติน ทาแรนติโน่. (2552). Inglourious Basterds (ยุทธการเดือดเชือดนาซี) [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: แคตทาลิสต์ อัลลายแอนซ์.
เควนติน ทาแรนติโน่. (2559). The Hateful Eight (แปดพิโรธโกรธแล้วฆ่า) [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: เอ็มพิคเจอร์.