สังคมนิยมเชิงจริยศาสตร์ของโทมัส ฮอบส์กับสังคมพุทธจริยศาสตร์
คำสำคัญ:
อัตนิยม, จริยศาสตร์, พุทธจริยศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “สังคมเชิงจริยศาสตร์ของโทมัส ฮอบส์กับพุทธจริยศาสตร์” นี้ผู้เขียนประสงค์จะตอบปัญหาทางปรัชญาว่า หลักอัตนิยมเชิงจริยศาสตร์ของโทม้ส ฮอบส์ในมุมมองพุทธจริยศาสตร์
สังคมแบบโทมัส ฮอบส์ยืนยันว่า มนุษย์ควรทำอะไรก็ตามที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง ในการทำเพื่อประโยชน์ของตนเองนั้น มนุษย์ต้องอยู่บนฐานของสิทธิเสรีภาพภายใต้เงื่อนไขของสัญญาประชาคม เพื่อมิให้ละเมิดผู้อื่น การกระทำแบบนี้ทำให้ฮอบส์ถูกมองว่า ไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ส่วนพุทธจริยศาสตร์เห็นว่า มนุษย์ควรทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและกระทำเพื่อประโยชน์คนอื่นด้วยการกระทำเพื่อตนนั้น พุทธจริยศาสตร์มีความเหมือนกับแนวคิดสังคมเชิงจริยศาสตร์ของฮอบส์ ส่วนในประเด็นการกระทำเพื่อผู้อื่นนั้น พุทธจริยศาสตร์ได้พิจารณาเกณฑ์การกระทำตามสัญญาประชาคมตามแนวคิดของฮอบส์หาได้ขัดแย้งกับแนวคิดพุทธจริยศาสตร์ แต่ว่าการกระทำของพุทธจริยศาสตร์ ไม่ได้มาจากเงื่อนไขของสัญญาประชาคม แต่มาจากความเป็นจริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์
References
ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2538). จริยศาสตร์ทฤษฎีและการวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: นำทองการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). ปรัชญาการเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พิมพ์ครั้งที่ 2. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้นมนุษย์กับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศ.
สุเชาว์ พลอยชุม. (2555). พุทธปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2543). ทุกข์ในพุทธปรัชญา : มุมมองจากลัทธิดาร์วิน. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2548). พิมพ์ครั้งที่ 2. พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคม และ ปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศยาม.
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฆฺฒโน). (2531). ความเห็นแก่ตัว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2552). พิมพ์ครั้งที่ 3. ประวัติปรัชญาการเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
พระมหาไพรัชน์ เขียนวงศ์. (2538). พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาความเป็นอัตนิยม. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gregory S. Kavka. (1986). quoted in Jean Hampton, Hoppes and Social Contract Tradition. New York: Cambridge University Press.
Leo Strauss. (1965). Natural Right and History. Chicago: University of Chicago Press.
Richard Dawkins. (1976). The Selfish Gene. Oxford University Press.
Thomas Hobbes. (1967). Leviathan or the Matter. Forme and power of a common wealth Ecclesiasticall and Civil. edited by Michael Oakeshott with an introduction by Richard S. Peter. New York: Collier Books.
Thomas Hobbes. (1991). Man and citizen (De Homine and De cive) en. Bernard Gert. Indianapolis, IN: Hackett.