อิทธิพลของบิ๊กเดต้าต่อจริยศาสตร์และศีลธรรม

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ สุชาติกุลวิทย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บิ๊กเดต้า, จริยธรรม, ศีลธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีชื่อว่า อิทธิพลของบิ๊กเดต่อต่อจริยศาสตร์และศีลธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา บิ๊กเดต้าและสำคัญของบิ๊กเดต้า 2) วิเคราะห์อิทธิพลบิ๊กเดต้าต่อจริยศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลบิ๊กเดต้าต่อศีลธรรม จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า บิ๊กเดต้าคือชุดข้อมูลทางพฤติกรรม ข้อมูลรูปภาพหรือเสียง ข้อมูลข้อความ และข้อมูลที่เกิดจากการบันทึก มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ ปริมาณข้อมูลมีขนาดใหญ่ มีความหลากหลาย และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันบิ๊กเดต้า นำมาใช้ในหลายภาคส่วนด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาคธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ การตลาด ภาครัฐ การบริการประชาชน ภาคเทคโนโลยี การประดิษฐ์หุ่นยนต์อัจฉริยะ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า 1) แนวคิดทางจริยศาสตร์เรื่องประโยชน์นิยม การนำบิ๊กเดต้ามาใช้มีข้อโต้แย้งเรื่องคุณภาพของความสุข 2) แนวคิดอัตนิยม ทำให้เห็นช่องว่างในการควบคุม สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ 3) แนวคิดจริยศาสตร์แบบสัมพัทธ์ ทำให้เห็นว่าความดีความชั่วสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แต่สิ่งที่ควรระวังคือ ปัจจัยหลอกและปัจจัยที่เกิดจากการปรุงแต่ง วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า การจะส่งเสริมให้มนุษย์มีศีลธรรมได้นั้น 1) มนุษย์ต้องเข้าใจความสำคัญของการมีอยู่ของตนเอง และคุณค่าที่มีต่อโลก 2) ตามแนวคิดวิมุตินิยม การที่เราจะมีความพอใจได้นั้น สิ่งที่สำคัญคือ การลดในสิ่งที่เราต้องการ เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นที่ตนเองจึงควบคุมได้ง่ายกว่า แน่นอนและปลอดภัยกว่า 3) อินทรีย์ทางศีลธรรมและมโนธรรมสมบูรณ์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน การที่จะทำให้อินทรีย์ทางศีลธรรมมีกำลังต้องอยู่ในสภาวะที่สงบ ผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาการเก็บข้อมูลทางด้านลบบนโลกออนไลน์ในบางกรณีทำให้คนขาดโอกาสในการแก้ตัว เช่น กรณีนักโทษ สุดท้ายผู้วิจัย เสนอว่า รัฐควรช่วยในการกำหนดสิทธิในการเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลแต่ละประเภทไปวิเคราะห์ เนื่องจากทำให้พฤติกรรมของมนุษย์ไม่เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น และควรสนับสนุนเรื่องการศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์ เพื่อพัฒนาการให้เหตุผลของมนุษย์รวมถึงสนับสนุนสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับบุคคลที่ต้องการความสงบและสร้างประสบการณ์ที่ดี

References

ธนาคาร เลิศสุดวิชัย. (2561). Big Data คืออะไร นำมาประยุกต์ใช้กับ Digital Marketing ได้หรือไม่. https://digitalmarketingwow.com/2017/06/08/big-data-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561.

พระศรีคัมภีรญาณ. (2559). จริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวย์. (2523). จริยศาสตร์เบื้องต้น: มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ศักดิ์ เสกขุนทด. (2561). ใช้บิ๊กดาต้าค้นหา “คนจน” (ที่จนจริง). https://www.dga.or.th/th/content/890/11916/. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561.

Alec Ross. (2016). รู้ทันอนาคตที่ (อาจจะ) ไม่มีคุณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิงโก.

Depa. (2561). Smart City. http://www.depa.or.th/th/smartcity/. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561.

Good factor team. (2561). Big data คืออะไร. https://blog.goodfactory.co/big-data-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-8ebf3a1a0050. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2561.

Kord Davis with Doug Patterson. (2012). Ethics of Big Data. USA: O’Reilly.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-05-2019