เพศสภาพและบทบาทสตรีในฐานะอุบาสิกาตามทรรศนะทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • กัญญภัค แมกกี้ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เพศสภาพ, บทบาทสตรี, อุบาสิกา

บทคัดย่อ

สตรีตามทัศนะพระพุทธศาสนาในฐานะอุบาสิกานั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี ผู้หญิงมีบทบาทมิได้ด้อยกว่าผู้ชายในด้านศาสนาแต่อย่างใด ทั้งเรื่องการเป็นผู้ถวายทาน เป็นผู้ปฏิบัติธรรม ทุกครั้งที่มีการถวายทานก็มักจะมีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปด้วยเสมอ เป็นความจริงที่ว่าผู้หญิงในฐานอุบาสิกามีส่วนช่วยประคับประคองศาสนาเป็นอย่างมาก ด้วยการอุปถัมภ์บำรุงตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบันนี้ เนื่องด้วยพุทธศาสนาเปิดกว้างสำหรับสตรีโดยทั่วไป ทำให้สตรีทุกชนชั้นวรรณะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทางพุทธศาสนา มิได้กำหนดให้ผู้หญิงต้องอยู่ในกรอบหรือบทบาทใดบทบาทหนึ่งเท่านั้น ผู้หญิงสามารถที่จะปฏิบัติธรรมและทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมได้ไม่แตกต่างจากผู้ชาย ทั้ง ๆ ที่ผู้หญิงตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ล้วนอยู่ภายใต้บริบทของสังคมอินเดียที่มีศาสนาพราหมณ์เป็นกรอบความเชื่อใหญ่ แต่พระพุทธศาสนาโดยพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกก็มิได้เห็นด้วยกับทรรศนะของศาสนาพราหมณ์ กลับให้โอกาสแก่ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในพระพุทธศาสนาอย่างอิสระ เพื่อนำสาวกไปสู่เป้าหมายคือ ความพ้นทุกข์เสมอกัน

References

กรมการศาสนา.(2525). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เดือน คำดี. (2544). ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา:การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี สิระโรจนานันท์. (2556). สตรีในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019