การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญฺญพฑฺฒโน
  • สมพงษ์ โกละกะ วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชน, เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน  3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 121,718 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.878 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t- test) One - Way ANOVA หรือ (F- test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)

ผลการวิจัยพบว่า 1)  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการชุมนุมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการเลือกตั้ง ส่วนด้านการรณรงค์ให้ความรู้ทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  จำแนกตามเพศ พบว่า อยู่ในระดับมาก จำแนกตามอายุ พบว่า อายุ 51 ปี ขึ้นไป อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มอายุอื่นๆ อยู่ในระดับมาก จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ระดับการศึกษาประถมศึกษา กับระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า กับระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า อยู่ในระดับมาก จำแนกตามอาชีพ พบว่า อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้าง อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มอาชีพอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก และจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่า รายได้ต่อเดือน 8,000 - 10,000 บาท อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มรายได้ อื่นๆ อยู่ในระดับมาก  2)  ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีของประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีอาชีพ ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่มีอายุต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)  ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ปัญหาที่มีข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ นักการเมืองไม่สนใจในความเดือดร้อนของประชาชนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมจึงก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองที่ยาวนาน แนวทางแก้ไขปัญหามากที่สุด คือ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ นักการเมืองควรสนใจในความเดือดร้อนของประชาชนและทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน

References

โกวิทวงศ์สุรวัฒน์. พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษที่ 21.นครปฐม : โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมกำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 2546.

จันทนา สุทธิจารี. “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในการเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน.กรุงเทพมหานคร, 2544.

ชินรัตน์ สมสืบ.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง.การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์, 2551.

วัชรา ไชยสาร.“การมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน”.รัฐสภาสาร ฉบับเดือนพฤษภาคม, พ.ศ. 2545.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554.

สุจิตบุญบงการ. การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารสถาบันทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.

สถาบันพระปกเกล้า. การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : ธรรมดาเพรส, 2545.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. แนวการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. คู่มือการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020