การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา : ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • อภิชัย พลายเนาว์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชาญพัฒน์ ขำขัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • สำราญ ศรีคำมูล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเรียนการสอน, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา: ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา: ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา : ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา : ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน คณะศาสนาปรัชญา สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์  เทคนิคและวิธีการเลือกตัวอย่าง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability sampling) วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 

ผลการวิจัย พบว่า 

  1. อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน สาขาวิชาปรัชญา ส่วนมากเป็นอาจารย์ที่อายุมากใกล้เกษียณอายุราชการ มีรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยให้ผู้เรียนนั่งฟังอย่างเดียว มีการถามตอบเป็นบางครั้งนักศึกษามีส่วนร่วมน้อย สื่อการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead) หรือโปรเจ็คเตอร์(Projector) มีการสอนโดยใช้ช่องทาง Social Network, Facebook ,Line น้อย
  2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา ได้ใช้ขั้นตอนในขั้นเตรียมการ โดยที่อาจารย์ผู้สอนจะต้องทำ มคอ.3 เพื่อบอกถึงจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้นๆในการสอน บอกแผนการที่จะสอนกับนักศึกษา จนถึงขั้นสุดท้ายของการรายงานผล มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม ค้นคว้าในประเด็นที่กำหนดให้ จากนั้นจะต้องนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนๆทุกคนช่วยกันวิพากย์ จากนั้นอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้สรุปประเด็นที่สำคัญให้ผู้เรียนได้เข้าใจยิ่งขั้น
  3. ผลการทดสอบปัญหาหรือโจทย์วิจัย จะต้องพัฒนาอาจารย์ผู้สอนก่อน โดยเน้นไปที่การอบรมสัมมนาให้นำสื่อเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนการสอน เพราะหลักการเรียนรู้สมัยใหม่คือ Teach Less, Learn More สอนให้น้อยแต่ให้ลูกศิษย์เรียนได้เยอะ นี้คือหัวใจของการศึกษาสมัยใหม่
  4. อาจารย์ผู้สอนส่วนมากเป็นผู้ที่มีอายุมาก ไม่มีความเชี่ยวชาญในด้าน ICT และวิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ควรให้นักศึกษามีการศึกษาดูงานในต่างประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา ลาดพร้าว.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

คูณ โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร.

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2525). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พิไลวรรณ วุฒิกุล. (2540). พื้นฐานการศึกษา. โรงพิมพ์นิรันดร์การพิมพ์ ขอนแก่น.

ไสว มาลาทอง. (2542). การศึกษาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรูปแบบนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการสอนววิชาฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ. หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณฤดี เนตรโสภา. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้าง สัมมาทิฏฐิของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยเทคนิคคำถาม R-C-A. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประมวล ริมี. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการการสอนภาษาอังกฤษเทคนิคโดยวิธีการการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาตรี. เอกสารประกอบการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ระดับชาติ,วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020