การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค

ผู้แต่ง

  • เมธา หริมเทพาธิป บัณฑิตวิทยาลัย สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจูงใจตนเอง, หลังนวยุค, กลุ่มปัญญานิยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการจูงใจตนเอง 2) เพื่อศึกษาปรัชญาหลังนวยุค และ 3) เพื่อวิเคราะห์การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุคสายกลาง วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการจูงใจตนเองและปรัชญาหลังนวยุค จากนั้นทำการวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวคิดเกี่ยวกับการจูงใจที่สำคัญ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจที่สำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจูงใจคือความต้องการผลตอบแทนที่จะได้รับ 2) แนวคิดของกลุ่มมนุษยนิยม เชื่อว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจูงใจคือแรงผลักดันจากภายในตัวบุคคล 3) แนวคิดของกลุ่มปัญญานิยม เชื่อว่า การจูงใจในการทำพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการที่บุคคลใช้ความคิดพิจารณา 4) แนวคิดของกลุ่มการเรียนรู้ทางสังคม เชื่อว่า การจูงใจเป็นผลมาจากความคาดหวังและคุณค่าของผลตอบแทนที่จะได้รับ 2. ปรัชญาหลังนวยุค เป็นปรัชญากระบวนทรรศน์ที่ 5 ของมนุษยชาติซึ่งมีปรัชญาอยู่ 2 สาย คือ ปรัชญาหลังนวยุคสายสุดขั้วและปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 3. การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุคสายกลางเป็นการจูงใจบนพื้นฐานทางปรัชญาไม่ยึดมั่นถือมั่น ใช้อรรถปริวรรตเป็นเครื่องมืออย่างมีวิจารณญาณ มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้มีการจูงใจตนเองด้วยพลังสร้างสรรค์ มีพลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา เพื่อสร้างความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

References

กิติยา มโนธรรมรักษา. (2559). “การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจมีผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

กีรติ บุญเจือ. และคณะ. (2560). “ปรัชญาธรรมาภิบาลที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นุชลี อุปภัย. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธา หริมเทพาธิป (2559). “การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้วและคณะ. (2561). “ปรัชญาสหวิทยาการที่สนับสนุนพระปฐมบรมราชโองการ”. รายงานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อดุลพัฒนกิจ.

Sheldon, K.M., Ryan, R.M., Rawsthorne, L. & Hardi, B. (1997). “Trait self and true self : cross-role variation in the big five traits and its relations with authenticity and subjective well-being”. Journal of Personality and Social Psychology. 73.

สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, (2563). “โครงการอบรมหลักสูตรอาชญากรรมดิจิทัล (Digital Crimes)”. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563. จาก https://thailawtraining.com/course17.html.

Boeree. C.G. (2006). Abraham Maslow. (Online). Sources : http:www.ship.edu~cgboeree/maslow. Html. Accessed 8th April, 2003.

David C. McClelland. (1985). "Methods of Measuring Human Motivation". in John W. Atkinson. ed. Motives in Fantasy. Action and Society. Princeton. N.J.: D. Van Nos-trand.

Porter, L.W. Bigley, G.A. and Steers, R.M. (2003). Motivation and work behavior. Boston : McGraw-Hill.

Ryan R.M. &Deci, E.L. (2000). “Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being”. American Psychologist. 55 (1).

Woolfolk, A.E. (2004). Educational psychology. 9th ed. Boston : Person Education, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020