ภาวะผู้นำเชิงพระพุทธในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางสังคม : กรณีศึกษาโรคระบาด
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงพระพุทธ, การแก้ไขปัญหา, โรคระบาดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอหลักการปฏิบัติตนตามหลักเสขิยวัตรของพระสงฆ์ในด้านการแพทย์และสาธารณะสุขทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอภาวะผู้นำเชิงพระพุทธในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดในสมัยพุทธกาลและในอดีต และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทและภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดในปัจจุบัน ผลการศึกษา พบว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ 500 รูป ทำการปัดเป่าภัยโรคระบาดที่เมืองไพสาลีด้วยพระปริตรและตรัสเทศนารัตนสูตรรวม 7 วัน
ด้านสาธารณะสุขทรงวางหลักปฏิบัติ 14 ข้อ สำหรับวิธีการรักษาโรค ประกอบด้วย 3 วิธี คือ 1) การดูแลรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ อาศัยพระภิกษุดูแลกันเอง บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ลงมาดูแลด้วยพระองค์เอง และบางครั้งก็อาศัยหมอชาวบ้าน 2) การดูแลรักษาด้วยธรรมะ และ 3) การป้องกันการเกิดโรคด้วยข้อปฏิบัติสุขอนามัยในธุดงควัตร 13 ข้อ ส่วนเภสัชที่ทรงอนุญาต ประกอบด้วย 1) ชนิดที่เป็นรากไม้ 2) ฝาดที่เป็นยา 3) ยาชนิดที่ใช้ใบ 4) ยาชนิดที่ใช้ผล และ 5) ยาชนิดที่ใช้ยางไม้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน คณะสงฆ์ไทยควรคำนึงและทบทวนข้อวัตรปฏิบัติว่าได้มีการปฏิบัติตามธุดงควัตร 14 ประการหรือไม่ มีความหย่อนยานในพระธรรมวินัยหรือไม่ อย่างไร และควรมีแนวทางปฏิบัติ แนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรืออย่างไร
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง, วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563, หน้าที่ 1 (2563).
Black Death. (2553). โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง. เอกสารการเสวนา “แบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนาพัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง” จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม, โครงการสนทนาวันศุกร์ คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมติชนข่าวสด, เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2553 ณ โรงละครแห่งชาติ, (โรงเล็ก) กรุงเทพมหานคร.
ขวัญชาย ดำรงขวัญ. (2559). เส้นทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยจัดการความรู้และมาตรฐานการควบคุมโรค, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2538). ความคิดทางการเมืองในพระไตรปิฎก. อ้างถึงใน พระเทพปริยัติเมธี, รายงานเรื่อง ภาวะผู้นําเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 2553.
พระครูสิริจันทนิวิฐ. (2549). ภาวะผู้นําเชิงพุทธ. อ้างถึงใน พระเทพปริยัติเมธี, รายงานเรื่องภาวะผู้นําเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 2553.
วิรัช ถิรพันธุ์เมธี. (2546). พุทธปรัชญาการปกครอง. อ้างถึงใน พระเทพปริยัติเมธี, รายงานเรื่องภาวะผู้นําเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 2553.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2552). “โรคห่า” ยุคพระเจ้าอู่ทอง คือ กาฬโรคจากเมืองจีน. ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11407 มติชนรายวัน, คอลัมน์ สยามประเทศไทย.
พระเทพปริยัติเมธี. (2553). รายงานเรื่อง ภาวะผู้นําเชิงพุทธกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์.
ไวรัสโคโรนา. (2563). อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563. จาก https://www.bbc.com/thai/features-51734255.
นภนาท อนุพงศ์พัฒน์. (2563). ย้อนรอยประวัติศาสตร์โรคระบาดประเทศไทย (2563). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563. จาก https://www.hfocus.org/content/2013/09/4628.
ประเสริฐ ทองเจริญ. (2552). ระบาดบันลือโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563. จาก https://www.hfocus.org/content/2015/04/9652.
ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข. (ม.ป.ป.). รัตนสูตรปราบภัย 3 ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563. จาก http://www.dhammathai.org/buddha/g74.php.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). ธุดงค์. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563. จาก https://bit.ly/39MYMjE.