คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ที่มีอิทธิพลต่องานพุทธศิลป์
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, ป่าหิมพานต์, พุทธศิลป์บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอคติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ส่งอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลป์คือ ในด้านจิตรกรรม มีการประดับตกแต่งศาสนสถานด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ ในด้านประติมากรรมมีการประดับตกแต่งอาคารศาสนสถานด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น พญานาค สิงห์ และในด้านสถาปัตยกรรมความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ส่งอิทธิพลต่อการวางผังสิ่งก่อสร้างภายในวัด การสร้างซุ้มประตูโขงทางเข้าวัด ซุ้มประตูโขงเปรียบเสมือนป่าหิมพานต์ เป็นประตูเชื่อมระหว่างแดนมนุษย์กับแดนสวรรค์ตามคติจักรวาลการประดับตกแต่งศาสนสถานด้วยเหล่าสัตว์หิมพานต์ ด้วยเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์วิเศษ มีอำนาจ พละกำลังมาก สามารถปกป้องคุ้มครองอาคารศาสนสถานให้รอดพ้นจากภยันตรายต่างๆได้ ในอีกด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดความสวยงามตระการตา เป็นดั่งสรวงสวรรค์ ช่วยน้อมนำผู้คนให้เกิดความเลื่อมใส ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก และเพื่อเป็นเครื่องช่วยนาทางให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้นหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสารอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน
References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2512). สามหลวงจีนมีชื่อจาริกไปอินเดีย. อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายจำรูญ ชื่นรุ่งโรจน์ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน 2512. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2538). ไตรภูมิพระร่วง การศึกษาที่มา. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพการพิมพ์.
ปัญญา เทพสิงห์. (2548). ศิลปะเอเชีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ ประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
พระมหาวิชาญ เลี่ยวเส็ง. (2544). พุทธศิลป์กับการท่องเที่ยว : ศึกษาบทบาทของวัดในการอนุรักษ์พุทธศิลป์เพื่อการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภานุวัฒน์ เนียมบาง. (2551). การศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสภา.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. (2551). เส้นสายลายไทยเงือก กินรี มักกะลีผล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์.
ส.พลายน้อย. (2552). สัตว์หิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพ์คำ.
สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์. (2556). จินตนาการแห่งดินแดนทิพย์ 2. กรุงเทพมหานคร: เทนเดอร์ทัช.