การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

ผู้แต่ง

  • จำรัส บุดดาพงษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
  • นพรัตน์ ศิลากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักธรรม, พระพุทธศาสนา, นักศึกษา, การครองตน, วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการการดำเนินชีวิตและครองตนของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา และ  3) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตในการครองตนของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศาตร์ยโสธร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้านเชิงปริมาณได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 รูป/คน สำรวจจากแบบสอบถามและแปรผลตามค่าทางสถิติ ส่วนด้านเชิงคุณภาพ ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวนทั้งสิ้น 10 รูป/คน แล้วนำผลการสัมภาษณ์มาประมวลผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

 ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านอายุ ด้านเพศ จำนวน 321 รูป/คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 224 รูป/คน และเพศหญิง จำนวน 97 คน ส่วนด้านอายุ จำนวน 321 คน ส่วนใหญ่ อายุ 31-40 ปี จำนวน 178 รูป/คน อายุ 41-50 ปี จำนวน 72 รูป/คน และอายุ 51 ปี มีจำนวน 18 รูป/คน และชั้นปีที่ศึกษา จำนวน 321 คน ส่วนใหญ่ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 85 รูป/คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 80 รูป/คน และชั้นปีที่ 5 จำนวน 24 รูป/คน 2) ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านความซื่อสัตย์ (2) ด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน (3) ด้านความอดทน อดกลั้น (4) ด้านความเอื้อเฟื้อ เสียสละ (5) ด้านความกตัญญู กตเวที พบว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษาโดยภาพรวม มีอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (gif.latex?\bar{x} = 3.82) 3) ผลการวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตในการครองตนของนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านครอบครัว (2) ด้านสังคม-สิ่งแวดล้อม (3) ด้านพฤติกรรมและค่านิยม (4) ด้านหลักธรรมกับการดำเนินชีวิต (5) ด้านความกตัญญู กตเวที   โดยภาพรวม มีอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (gif.latex?\bar{x} = 3.88) 4) ข้อเสนอแนะการทำวิจัย ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมในการครองตนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะเป็นสถานศึกษาที่โดดเด่นทางด้านวิชาการควบคู่กับหลักคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษา

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2542). จอมปราชญ์นักการศึกษา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์

คณะกรรมการการศึกษาระหว่างชาติ, (2534). พื้นฐานการศึกษา หลักการ และแนวคิดทางสังคม.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ดีจำกัด

สมชาติ โตรักษา (2550) การประยุกต์หลักการบริหารเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 2550 :146

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก

พุทธทาส ภิกขุ. (2537). เป้าหมายของการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิพพาน,

พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ), (2549).พุทธศาสตรปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2552) “ธรรมนูญชีวิต พุทธธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม”, พิมพ์ครั้งที่ 16, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). ธรรมนูญชีวิตพุทธวิจัยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา สุภาพ. (2533). ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช.

สาโรช บัวศรี, (2520). ปรัชญาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต

รัตนะ ปัญญาภา. (2553). หลักพุทธธรรมเอกสารประกอบการสอนรายวิชาพุทธธรรม.อุบลราชธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วรภาส ประสมสุข และนิพนธ์ กินาวงศ์. (2550). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธ.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). ภาวะผู้นาที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์: ศึกษาจากหลักพุทธธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพ็ญนภา พิลึก. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา: กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรัตน์ มุ่งอิงกลาง (2544) การศึกษาคุณธรรมตามแนวพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

Berkowitz Leonard Social Psychology. Illinois : Scott Foresma. 1972.

Best, J.W. and V. Jamer. Research in Education. New Jersey : Prentice Hall. 1989.

Bloom, B.S., Hasting, T.J., & Madaus, G.F. Effective domain. In Handbook On

Formative Evaluation Of Student Learning. New Jersey : Prentice – Hill, 1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020