การพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พระมหาไพฑูรย์ ปนฺตนนฺโท วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ธรรมทูตคฤหัสถ์, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศได้เริ่มต้นจากคนไทยที่ไปประกอบอาชีพอยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องการที่พึ่งทางจิตใจจึงนำความเป็นชาวพุทธและพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่และอุปัฏฐากพระภิกษุที่อาราธนามาจากประเทศไทยเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ ด้วยเหตุที่ชาวพุทธในต่างประเทศมีการปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรมและมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้รับการขนานนามว่า “ธรรมทูตคฤหัสถ์” และการที่พระภิกษุซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองได้เพราะคฤหัสถ์ชาวพุทธให้การเกื้อหนุนอุปัฏฐากอุปถัมภ์และดูแลทุกอย่าง อีกทั้งพระภิกษุจะไม่สามารถเผยแผ่ได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีคฤหัสถ์ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และเมื่อคฤหัสถ์ได้พัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตแล้วเผยแผ่คำสอนแก่บุคคลใกล้ชิดให้ได้เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศด้วยแล้วธรรมทูตคฤหัสถ์ชาวพุทธถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ช่วยสื่อสารทำให้คนท้องถิ่นเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีพัฒนาการไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น บทความนี้นำเสนอการพัฒนาศักยภาพการเผยแผ่, ความเป็นมาของธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่, ธรรมทูตคฤหัสถ์กับการเผยแผ่ และการพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

References

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2544). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก. สหายบล็อกและการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). งานพระธรรมทูตในพระธรรมทูตในต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธัมมทัตโตภิกขุ และพ.ณ. ประมวลมารค. (2532). ตำนานสุวรรณภูมิสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พระมหาถนัด อตฺถจารี และพระปลัดอาพล สุธีโร. (2543). พระธรรมทูตสายต่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาไพฑูรย์ ปนฺตนนฺโท, ดร. (2562). สรุปผลความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรมโครงการธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธในต่างประเทศ. วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2527). พระสงฆ์ในชนบทอีสานกับการพัฒนาตามหลักการพึ่งตนเอง. ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยพระธรรมทูต. (2562). โครงการอบรมธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธในต่างประเทศ. วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2551). พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 14. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรมการพิมพ์, 2551.

แสง จันทร์งาม. (2526). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : กมลการพิมพ์.

พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. (2563). การศึกษาธรรมทูตคฤหัสถ์วิถีพุทธ: นวัตกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุค Disruptions. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563. จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/165140.

พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก). (2563). การศึกษาชาวพุทธไทยในยุโรปตื่น! อบรมธรรมทูตคฤหัสถ์ ช่วย "แผ่-ป้อง" พุทธธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563.จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/164886.

พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก). (2563). พระสงฆ์เปิดอบรมฆราวาสเป็นธรรมทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุโรป. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563. จาก https://www.posttoday.com/dhamma/602363.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020