ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานรักษาความปลอดภัย บริษัทรักษาความปลอดภัยในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สมคิด ศรีนาเมือง สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การพัฒนา, คุณภาพชีวิตการทำงาน, พนักงานรักษาความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน 2) ศึกษาสภาพปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงาน 3) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน 4) ประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยบริษัทรักษาความปลอดภัยในจังหวัดปทุมธานีแบบของการวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยวิธีการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ     การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างย่างจำนวน 370 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  2) ประเด็นการระดมสมอง วิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า 1)ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  และเมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับปานกลางในด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ 2)สภาพปัญหาคุณภาพชีวิตการทำงาน (1) ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม (2) ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ (3) ด้านความก้าวหน้าและมีความมั่นคงในงาน (4) ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล (5) ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน (6) ด้านประชิปไตยในองค์การ (7) ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว (8) ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน วิสัยทัศน์ได้แก่ ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม มีหลักประกันชีวิตเพื่อความมั่นคง และดำรงความสุขร่วมกัน ยุทธศาสตร์ย่อย 7 ด้าน พันธกิจ 7 ด้าน เป้าหมาย 7 ด้าน และกลยุทธ์ 7 ด้าน ซึ่งมีความครอบคลุมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน4)การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยบริษัทรักษาความปลอดภัยในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมมาตรฐานการประเมินแผนงานและโครงการได้มาตรฐานอยู่ในระดับดีทั้ง 7 ด้าน

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ขวัญกมล สาระบุตร. (2543). คุณภาพชีวิตในการทางาน:ปจจัยสําคัญตอการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ. กรุงเทพฯ: สมานบุค.

จักษวัชร ศิริวรรณ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ. https://www.gotoknow.org/posts/437659, วันที่สืบค้น 30 กรกฎาคม 2556.

จักษวัชร ศิริวรรณ. (2562). การนําแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556. จาก http://www.gotoknow.org/posts/437655.

ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์. (2544). นโยบายธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2549). ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2550). บทสรุปสำหรับผู้บริหารเรื่องระบบการเฝ้าระวังและป้องกันความพิการ. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ.

ผดาพร เหมบุตร. (2543). นักบริหารบทความคุณภาพชีวิตในการทำงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ราชบัณฑิตสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558.

ศิขรินทร์ สุขโต. (2553). วิศวรกรรมความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมยศ นาวีการ. (2525). การพัฒนาองค์กรและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2559). รายงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562. http://www.industry.go.th/pathumthani/index. php/

-09-06-08-07-26/2016-09-06-08-09-08.

สำนักงานผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี. (2562). เอกสารรายงานการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการและรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัย. ปทุมธานี.

อรุณี สุมโนมหาอุดม. (2542). คุณภาพชีวิต: ศึกษาเฉพาะกรณีสํานักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน.วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาศิลปศาสตร คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School – based Management. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Casio, W. F. (1989). Managing Human Resources. New York: Mc Graw – Hill of Applied Psychology.

Herbert, H. G. (1972). The management of organization: A systems and human resources approach. (2nd ed.). New York: Appletion-Century-Crofts.

Hill, Charls W., and others. (1998). Strategic Management : An Integrated Approach. 4th ed. Boston : Houghton Miffin.

Skrovan, D. J. (1983). Quality of work life: Perspectives for business and the public sector. Massachusetts: Addison-Wesley.

Schuler, R. S., Jackson, S. E., & Werner, S. (1989). Managing Human Resources. Mason, OH: South - Western Cengage Learning.

Walton, Richard E. (1974). Improving Quality of Work Life. Harvard Business Review, 15 (5), pp. 12-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021