การประเมินศักยภาพชุมชนเพื่อการศึกษาและการท่องเที่ยวชุมชน : บ้านด่านเนินสูง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี
  • เริงวิชญ์ นิลโคตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี
  • ธีรังกูร วรบำรุงกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี
  • วัยวุฒิ บุญลอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี
  • มนตรี วิชัยวงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี

คำสำคัญ:

การประเมินศักยภาพ, การศึกษา, ท่องเที่ยวชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่การประเมินศักยภาพชุมชนเพื่อการศึกษาและการจัดการการท่องเที่ยวโดยมีพื้นที่บ้านด่านเนินสูง อำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นพื้นที่ศึกษาโดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และลงพื้นที่ของนักวิจัยในการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวที่สำคัญ ประกอบด้วยศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เข้มแข็งและสามัคคี ด้านทรัพยากรป่าไม้และธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์พร้อมรองรับการท่องเที่ยว มีต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมอันโดดเด่นของชุมชน มีต้นทุนด้านการบริหารจัดการเครือข่ายทั้งเครือข่ายการท่องเที่ยวและเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าชุมชน และการสนับสนุนจากภาคีวิชาการระดับพื้นที่เพื่อพัฒนาบนเนื้องานและความต้องการของชุมชน ผ่านจัดการความรู้ของทุกฝ่าย การให้ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงและตั้งอยู่บนฐานบริบทของพื้นที่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะส่งต่อให้กับชุมชน และทุกภาคส่วนได้เรียนรู้ผ่านการดำเนินการต่าง ๆ ส่งผลให้ชุมชนมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่เพื่อการศึกษาและการจัดการท่องเที่ยวชุมชนได้

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (มปป). แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ: (Natural Attraction). กรุงเทพฯ.

กองแผนนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). แผนวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564 ฉบับทบทวน พศ. 2563-2564. กรุงเทพฯ.

กรมการท่องเที่ยว. (2563). แนวทางการบริการจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.

จิรพิพัฒน์ วัฒนโชคชัย (2563). แผนพัฒนาหมู่บ้านด่านเนินสูงประจำปี 2563. จังหวัดตราด.

เชี่ยวโสธร ดูวอล. (2557). การประเมินศักยภาพและความต้องการจำเป็นในการบริการสุขภาพของชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 8(1), 55-58.

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพการรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(2), 186-193.

เทศบาลตำบลเกาะกาง. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีตำบลเกาะกาง พ.ศ. 2561-2564. ตราด.

สุภาภรณ์ หาญทอง. (2543). ศักยภาพการรจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ : ภาคนิพนธ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). คำแถลงณ์นโยบายคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธิ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสองพ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สาระดีดีดอทคอม. (2563). องค์ประกอบของการท่องเที่ยว (Tourism Element). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2563. จาก http://saradd.com/index.php?option=com_ content&view=article&id=218:tourism-element&catid=25:the-project&Itemid=72.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2562). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

อดิเรกโชติกุล และเกศรินทร์ โชคเพิ่มพูน. (2018). การพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของอบตมะเกลือใหม่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนินจังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 16(2), 46-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021