การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาวุฒิพงษ์ วุฑฺฒิวํโส วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, แหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนา, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดในจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษา พบว่า 1)สภาพปัญหาของจังหวัดสุพรรณบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ตั้งกระจายอยู่ห่างออกจากกันในหลายท้องที่ ซึ่งสภาพการกระจายตัวดังกล่าวส่งผลต่อปัญหาอื่น เช่น ขาดรถรับส่งสาธารณะ ขาดการดูแลด้านความปลอดภัย ขาดที่พักในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง 2) เรื่องการขาดการประสานงานกับจังหวัดข้างเคียงและขาดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาที่มีความหลากหลายและมีมิติในเชิงลึกที่ต้องอาศัยความเข้าใจประวัติความเป็นมา และความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา โดยควรมีการยกระดับศักยภาพและสิ่งดึงดูดใจ ด้วยการจัดทำผังแม่บทเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาร่วมกับจังหวัดอื่นใกล้เคียง เช่น พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี เพื่อยกระดับเส้นทางและกิจกรรมนำร่องให้ชัดเจน และดึงดูดใจร่วมกันระหว่างภาคีด้านการท่องเที่ยงเชิงพุทธในแต่ละจังหวัด ตามเส้นทางนำร่อง ทั้งในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี-อำเภออู่ทอง เช่น การเข้าถึง การเดินทางที่สะดวก ความปลอดภัย หรือโรงแรมที่พัก เป็นต้น และ3) การทำงานโดยอาศัยผังแม่บทด้านการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาที่ครอบคลุมทั้งเรื่องเส้นทางและกิจกรรมจะช่วยจุดประกายการสร้างความร่วมมือและนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างยั่งยืน

References

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2547). โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น :การเรียนรู้กระบวนการเสริมศักยภาพการวิจัยชุมชนในพื้นที่อำเภอหว้านใหญ่และอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ : สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม.

ไชยยศ จันทราทิตย์. (2550). แนวคิดและรูปแบบการสร้างองค์กรเครือข่ายหรือองค์กรภาคประชาชนในบริบทศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทยกรณีศึกษาภาคเหนือภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้.

ชุมพล พืชพันธุ์ไพศาล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านเลนและเทศบาลตำบลบางกระสั้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2554). การจัดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนของชุมชนคลองรางจระเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พงศ์เดช ไชยคุตร. (2548). ปัญหาและแนวทางแก้ไขสภาพการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมและสำนักงานวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม.

พันทิพา มาลา และลำยอง ปลั่งกลาง. (2558). แนวทางการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุนชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ชุมชนอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ภัทราพร จันตะนี. (2556). การจัดการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเห็ดตับเต่า ตำบลสามเรือน อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ และคณะ. (2547). การศึกษาพัฒนาแนวทางความพร้อมในการบริหารจัดการวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม.

ลำยอง ปลั่งกลาง. (2558). การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวสีเขียว กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิภาพรรณ ดาราฉาย. (2556) การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีศักร์ วัลลิโภดม. (2550). ประวัติศาสตร์ โบราณคดี : เมืองอู่ทอง. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ

สำนักศิลปากรที่ 2 กรมศิลปากร. (2545). ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีกำแพงเมืองโบราณสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี.

สำนักศิลปากรที่ 2 กรมศิลปากร. (2546). พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี.

สำนักศิลปากรที่ 2 กรมศิลปากร. (2550). พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ.

สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดการน้ำเสียคลองบางตลาด จังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

อารีรัตน์ คูณดี. (2549). ความเป็นไปได้ในการเปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเขตอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021