ปัจจัยด้านความมีวินัยและด้านความอดทนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ (ญาณปฺปโภ) วัดปันเสา จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบรรพชาเป็นสามเณร, ความอดทน, ความมีวินัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความมีวินัยและด้านความอดทนในการบรรพชาที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างด้านความมีวินัยและด้านความอดทนของการบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรแบบ 2 ทาง คือด้านความมีวินัยและด้านความอดทนในการบรรพชาที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์การบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬีฯ ด้วยการวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ Crosstabs Table โดยตั้งสมมติฐานในการวิจัยคือ การบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีปัจจัยในด้านการมีวินัย และด้านความขยันอดทนในการบรรพชาเป็นสามเณรต่างกัน จะมีผลต่อผลบุญหรืออานิสงส์ของการบวชของการบรรพชาเป็นสามเณรแตกต่างกัน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยด้านความมีวินัย อยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านความมีวินัยของการบรรพชาเป็นสามเณรโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (2.31) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4.25) การบรรพชาเป็นสามเณร โดยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และปัจจัยด้านความขยันอดทนของการบรรพชาเป็นสามเณรโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (2.31) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4.25) การบรรพชาเป็นสามเณร ในปัจจัยด้านความขยันอดทน อยู่ในระดับปานกลาง การหาค่าที่แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของการบรรพชาเป็นสามเณรโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (2.42) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4.63) การบรรพชาเป็นสามเณรปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อยู่ในระดับสูง และการบรรพชาเป็นสามเณร มีปัจจัยด้านความมีวินัย (1.76) ความขยันอดทน (2.00) อยู่ในระดับพฤติกรรมปานกลาง และทำให้ทราบว่าการบรรพชาเป็นสามเณร ในกลุ่มสามเณรใหม่ ปี 2563 ของวัดโลกโมฬี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 24 รูป มีปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์อยู่ในระดับพฤติกรรมสูง ทั้งๆ ที่มีความแตกต่างของแต่ละปัจจัย

References

กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฉกาจ ช่วยโต. (2551). การศึกษาผลของการฝึกอบรมตามโครงการจริยธรรมสำหรับนักเรียนวิทยาลัยครูสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติกร ธนาวัฒนากร. (2543). การศึกษาบุคลิกภาพตามแนวทฤษฎีจิตวิเคราะห์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ ปยุตฺโต). (2546). ทำไมคนไทยจึงเรียนพระพุทธศาสนา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด.

พระอาจารย์ดร. ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ (าณปฺปโภ). (2562). “พฤติกรรมการบวชของชายไทยชาวเชียงใหม่ ศึกษากรณี วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กค.-ธค. 2562).

สุนทรี และสนิท. (2522). ค่านิยมและระบบค่านิยมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมสุดา ผู้พัฒน์ และคณะ. (2543). รายงานผลการวิจัยผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรมะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุนทร บุญสถิต. (2543). สถานภาพ บทบาท และปัญหาของสามเณรในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์อักษร ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2547). รายงานผลการดำเนินงาน กองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท. กรุงเทพฯ: ร่มธรรมการพิมพ์.

Cronbach, L. J. (1954). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Mc Calland, David C. (1961). Motivation economic achievement. New York, the free.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021