พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, บ้านกระเบา, บ้านจะกุด, บ้านหนองบัวบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษากระบวนการสร้าง การสืบทอด การเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) จัดการองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ข้อให้เป็นระบบ อยู่ในสภาพพร้อมใช้และเข้าถึงได้ง่าย
ผลการศึกษาพบว่า อาณาบริเวณบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของพวกขอมและลาวตามลำดับ และได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชนมาตั้งบ้านแปงเมืองแถบนี้ และได้รับบรรดาศักดิ์ให้ปกครองบ้านเมือง ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และที่ตั้งสัมพันธ์ ส่งผลให้พื้นที่แถบนี้มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัฐไทยปัจจุบัน และส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในเวลาต่อมา
ภูมิปัญญาที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นแห่งนี้ ซึ่งเป็นผลผลิตของความพยายามที่จะดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสังคม ซึ่งประกอบด้วยประชากรอย่างน้อย 2 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ คือ ลาวและเขมร อาจตระหนักในคุณค่าของกันและกัน ได้แก่ ภูมิปัญญาการรำแม่มด (บ้านจะกุด) ภูมิปัญญาการสานหมวกและทอเสื่อกก (บ้านหนองบัว) และภูมิปัญญาการย้อมผ้าจากผลกระเบาและการทำเกวียน (บ้านกระเบา) ซึ่งวัฒนธรรมภูมิปัญญาทั้ง 4 ด้านนี้ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ สืบทอด เปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณา วงษาสันต์ และคณะ. (2542). วิถีไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.
คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ. (2535). ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษฉบับสมบูรณ์.ศรีสะเกษ : ศรีสะเกษฉบับสมบูรณ์.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2531). หมู่บ้านกับการพึ่งตนเอง ใน ภูมิปัญญาแห่งอีสาน : รวมบทความอีสานคดีศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2536). ภูมิปัญญาอีสาน 2. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซท (ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนายลิขิต จันทรเกษ ณ เมรุวัดพระบรมธาตุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 12 ธันวาคม 2536.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2541). คติชาวบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรวัฒนา.
จารุวรรณ ธรรมวัตร และคณะ. (2541). ความหลากหลายทางภูมิปัญญาและวิถีเศรษฐกิจในชุมชนสองฝั่งโขง. มหาสารคาม : อาศรมวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประจักษ์ บุญอารีย์. (2542). คมภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาอีสาน. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ประนุช ทรัพยสาร. (2525). วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พ.ศ.2394 – 2475. วิทยานิพนธ์ อ.ม.(ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ. (2529). กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
ประเวศ วะสี. (2534). การศึกษาชาติกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ใน การสัมมนาทางวิชาการเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการพัฒนาการพัฒนาขนบ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
ปิยนาถ บุนนาค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภราดร ศรปัญญา และคณะ. (2558). ศรีสะเกษ จังหวัดของเรา 2 : ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การคมนาคม และสิ่งแวดล้อม. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
รัตนะ บัวสนธ์. (2537). ที่มาและความหมายของภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. (2543).กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ. (2543). ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : สภาวัฒนธรรมฯ.
สุทัศน์ กองทรัพย์. (2536). ความสำคัญของเมืองคูขันธ์ สังฆะ และสุรินทร์ พ.ศ.2302 – 2450.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (ประวัติศาสตร์). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษและภาคีเครือข่าย. (2545). ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น : ประวัติอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ของจังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : สำนักงานจังหวัดฯ.
สำนักงานเทศบาลตำบลโนนสูง (ม.ป.ป.). ข้อมูลการวิจัยชุมชนด้วยวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP) ของเทศบาลตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ..
เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ. (2544). ภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง และมูลนิธิภูมิปัญญา.
เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
อุศนา นาศรีเคน. (2546). อีสานในการรับรู้และทัศนะของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ตั้งแต่หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.2369 ถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.(ประวัติศาสตร์). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอเจียน แอมอนิเย. (2541). บันทึกการเดินทางในลาวภาค 2 พ.ศ.2440. แปลโดย ทองสมุทร โดเร และ สมหมาย เปรมจิตต์. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบวงมหาวิทยาลัย.
กัด ศรีระเจริญ, ชาวบ้านบ้านจะกุด หมู่ 7. สัมภาษณ์. 25 กรกฎาคม 2563
ตุ สายจันทร์, ชาวบ้านบ้านกระเบา หมู่ 4. สัมภาษณ์. 17 กรกฎาคม 2563.
เทพ สะอาด, ชาวบ้านบ้านกระเบา หมู่ 4. สัมภาษณ์. 17 กรกฎาคม 2563.
บุญมี พิมมาศ, ชาวบ้านบ้านหนองบัว หมู่ 6. สัมภาษณ์. 20 กรกฎาคม 2563.
มณี อุปสุข, ชาวบ้านบ้านกระเบา หมู่ 6. สัมภาษณ์. 17 กรกฎาคม 2563.
ศศิวิมล คำลอย, เจ้าหน้าที่สำนักงานเทศบาลตำบลโนนสูง. สัมภาษณ์. 25 กรกฎาคม 2563