การสร้างสื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผู้แต่ง

  • วิศกรณ์ โสภาภิมุข สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • โสพัฒน์ โสภาภิมุข สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อชิตพล มีมุ้ย สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

สื่อแอนิเมชัน 3D, ไวรัสโควิด 19, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนโดยใช้สื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านการผลิตสื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/82.44 2) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วยสื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความพึงพอใจในสื่อแอนิเมชัน 3D เรื่อง ไวรัสโควิด 19 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ระบบสื่อการสอน การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.

ชุติพงศ์ พันธุ์สมบัติ และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2559). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบเล่านิทานเป็นฐาน เรื่องการบริโภคอาหาร สำหรับเด็กปฐมวัย. อินฟอร์เมชั่น. 23(59): 39-48.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สรชัย ชวรางกูร. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจของนักเรียนช่วงชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติและ 3 มิติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-06-2021