การพัฒนาอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์, ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้ด้วยตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ที่เรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 3) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 80 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน และ 4) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า 1) อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งได้เท่ากับ 81.17/83.67 2) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จากการเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับสูง (= 4.27, S.D.= 0.43) โดยนักศึกษามีการเรียนรู้ในอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์อย่างต่อเนื่อง
มีความกระตือรือร้นในการหาข้อมูลในอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์เมื่อมีข้อสงสัย มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์และสามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
References
เอกสารภาษาไทย
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
จตุรงค์ ตรีรัตน์. (2555). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องข้อมูลและสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภัทรญาณวิทยา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ : แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ณัฐพงศ์ สมปินตา. (2549). การผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย เรื่องสื่อการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2546). Best Practice in Teaching with e-Learning. เชียงใหม่: สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภัทร วันทาพงษ์. (2554). การพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชาฟิสิกส์ เรื่องโมเมนตัมและการชนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นครินทร์ สุกใส. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จํากัด.
สามมิติ สุขบรรจง. (2554). การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชา “การแสดงและสื่อ”. สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล, วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
เอกสารภาษาอังกฤษ
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reachevery student in every class day. International Society for Technology in Education.
Bonk, C. J., & Graham, C.R. (2006). The handbook of blended learning: global perspectives, local designs. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.
Guglielmino, Lucy Madsen. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale Dissertation. Georgia University.
The Training Place, (2004). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Waterhouse, S. (2005). The Power of E-Learning: The essential guide for teaching in the digital age. Boston, MA: Pearson Education, Inc.
Wilson, D., & Smilanich, E. (2005). The other blended learning: a classroom-centered approach. San Francisco, Calif.: Pfeiffer.
เว็บไซต์
Allen and Seaman. (2005). Growing by degree online Education in the UnitedStates. [Online]. Available form: http://elearning.ppu.edu/file.php/1/eLearning/elearning.pdf.
Donald Clark. (2003). Instructional System Design - Analysis Phase. [Online]. Available form: www.nwlink.com/-donclark/hrd/sat2.html.