รูปแบบการจัดการการดูแลตนเองสำหรับพระภิกษุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ผู้แต่ง

  • สกุณ พานิชเจริญนาน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บุญทิพย์ สิริธรังสี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จอนผะจง เพ็งจาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • รัชนี นามจันทรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการการดูแลตนเอง, พระภิกษุ, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ประสบการณ์การจัดการการดูแลตนเองของพระภิกษุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการการดูแลตนเองสำหรับพระภิกษุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 6 รูป และผู้ดูแล 4 คน เครื่องมือการวิจัย มี 2 ชุด ได้แก่  (1) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการการดูแลตนเองของพระภิกษุ  (2) แบบสัมภาษณ์การจัดการการดูแลตนเองของพระภิกษุและผู้ดูแล เครื่องมือทั้งสองชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน  มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .98 และ .80 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัย พบว่า 1) พระภิกษุมีความรู้และสามารถจัดการการดูแลตนเองได้ตามหลักพระธรรมวินัย โดยมีผู้ดูแลให้การสนับสนุน และ 2) รูปแบบการจัดการการดูแลตนเองสำหรับพระภิกษุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การได้รับความรู้การจัดการการดูแลตนเองจากแพทย์และพยาบาล (2) การเรียนรู้การจัดการการดูแลตนเองจากประสบการณ์ของตนเอง (3) การสนับสนุนการจัดการการดูแลตนเองจากผู้ดูแล และ (4) การจัดการการดูแลตนเองของพระภิกษุที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประกอบด้วย 7-องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเรียนรู้การเลือกอาหารและผลไม้ (2) การควบคุมปริมาณน้ำต่อวัน (3) การเรียนรู้วิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 4) การดูแลหลอดเลือดฟอกไตให้มีประสิทธิภาพในการฟอกเลือด (5) การบริหารร่างกายให้สอดคล้องกับพระธรรมวินัย (6) การจัดการการดูแลตนเองตามธรรมวินัย (7) การมาฟอกเลือดสม่ำเสมอ ซึ่งรูปแบบการจัดการดูแลตนเองนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการการดูแลตนเองของพระภิกษุรูปอื่นที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมได้ แต่ควรคำนึงถึงความแตกต่างและความเหมาะสมกับพระภิกษุแต่ละรูป

References

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตผู้ป่วย จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ.

เกียรติคุณ, สมศรี เผ่าสวัสดิ์. (2556). คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการปลูกถ่ายไต. กรุงเทพฯ: สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์.

ณัฐรพี ใจงาม, อรนุช ชูศรี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย, รังสรรค์ มาระเพ็ญ. (2560). แนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27, (3) :1-9.

ทิพากร หาญมนตรี, สุธีพร มูลศาสตร์. (2557). คุณภาพบริการมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 1. วารสารพยาบาล, 63, (4): 49-56.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. (2558). การป้องกันและการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังและไตวาย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์, 5-6.

ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2558). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์, 5-17.

พงศธร คชเสนี. การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563, จาก http://www.nephrothai.org/การบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน.pdf.

พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดําเนิน). (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ได้รับการส่งเสริมด้วยธรรมปฏิบัติในโรงพยาบาลมะการักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสวนปรุง, 31(1):27-37.

พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,4,2):351-358.

พระมหาอุทิศ กวิวโส (แววสะบก). (2558). กิจวัตร 10 : จริยาพื้นฐานเพื่อการพัฒนาวิถีพุทธ. วารสาร ครุศาสตร์ปริทรรศน์, 2,(3) :1-10.

พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2551). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: สหพริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

พระอาจารย์วิชิต ธัมมชิโต, พิทักษ์ ตั้งชนะชัยอนันต์. (2560). คู่มือการดูแลพระภิกษุอาพาธโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ไพรัตน์ แสงดิษฐ์. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติดูแลพระภิกษุอาพาธระยะท้าย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

รัฐดำรง ธรรมโชติ. (2562). การอุปัฏฐากพระสงฆ์อาพาธภายใต้หลักพระธรรมวินัยโรงพยาบาลสงฆ์. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

วัชรี รัตนวงศ์ และทิพาพร จ้อยเจริญ. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. ชลบุรี : หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลชลบุรี.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2557). ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558. จาก http://www.nephrot.org/index.asp.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จํากัด.

สราวุธ อาจหาญ. (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้พฤติกรรมการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินของพระสงฆ์อาพาธโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สิริกาญจน์ ท่อแก้ว. (2546). ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดล้างไตในเขตจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขใจ พนิชศักดิ์พัฒนา. (2554). การบริหารร่างกายสำหรับพระภิกษุ สามเณร และประชาชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์.

สุนิสา สีผม. (2556). การจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 6,(1): 12-18.

สุมาลี หุนตระกูลและคณะ. (2554). ประสบการณ์การดูแลตนเองของพระภิกษุโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. กรุงเทพฯ: หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาลสงฆ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). แก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กติดเค็ม.สัปดาห์วันไตโลก (2562). จาก: www.nhso.go.th › frontend › News Information Detail.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้านคน. ข่าวสร้างสุข ข่าวสุขภาพ. เดลินิวส์ออนไลน์.; จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/51283-.

เสาวรส ปริญญะจิตตะ. (2560). ปัญหาสถานการณ์โรคไตเรื้อรังและคัดกรองโรคไตเรื้อรัง. หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาราชนครเขียงใหม่. จาก https://w2.med.cmu.ac.th/nis/downloads/wp-content/uploads/2017/07/5366CKD-situation-and-screen-2017.pdf.

ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล. (2562). Service Profile. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลสงฆ์.

อารีย์ เสนีย์. (2557). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารทหารบก, 15,(2) :129-134.

Andrew, S., & Briggs, M. (2009). The National Kidney Disease Education Program:Improving Understanding, Detection,and Management of CKD. American Journal of Kidney Diseases, 53,(S3):S115-S120.

Bernstein, S. J. (2008). A new model for chronic-care Delivery. Frontiers of Health Services Management, 25(2), 31-39.

Buathed D.(2010). Buddhist Monks Health: A Model of Holistic Health Care by Community Participation in Upper Central Thailand. Mahasarakham University.

Debela Gela, Daniel Mengistu. (2018). Self-management and associated factors among patients with end-stage renal disease undergoing hemodialysis at health facilities in Addis Ababa, Ethiopia. International journal of Nephrology and Renovascular Disease, 11, 329-336.

Eylem.(2010). The evaluation of self-care and self-efficacy in patients undergoing hemodialysis. Journal of Evaluation in clinical practice.

Kidney International. (2012). KDIGO Clinical Practice Guideline for Acute Kidney Injury. Journal of The international society of nephrology, 2,(1): 1-138.

Narayan Prasad, Vivekanand Jha. (2015). Hemodialysis in Asia. kidney Diseases; 1:165-177.

National office of Buddhism. (2018). (cite 2018 june 19). Available From http://www.onab.go.th/wpcontent/uploads/2016/onab_primaryinfo60edit.pdf

Ryan P,. Sawin. KJ. (2009). The Individual and Family Self-Management Theory : Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook, 57,(4):217-225.

Saran R,Robinson B, Abbott KC, et al. US Renal Data System 2018 Annual Data Report: epidemiology of kidney disease in the United States. Am J Kidney Dis. 2019;73(3)(suppl 1) : Svii-Sxxii, S1-S772.

Saran R,Robinson B, Abbott KC, et al. US Renal Data System 2019 Annual Data Report: epidemiology of kidney disease in the United States. Am J Kidney Dis. 2020;75(1)(suppl 1) : Svii-Sviii, S1-S64..

Shrestha BK, Rajbanshi L, Lopchan M. (2016). Self- Care Knowledge among Chronic Kidney Disease Patients Undergoing Maintenance Hemodialysis. Ann Nurs Pract, 3,(5):1061.

Soulmaz A., Tahereh J., and Mehdi H. (2009). Self-Care Ability in Hemodialysis Patients. Journal of Caring Sciences, 1,(1):31-35..

Praneethum W, Sitthijirapat P, and Kiatkanont.K. (2018). Self- care Behavior of Monks with Chronic Kidney Disease. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021