วัฒนธรรมไทย-จีนกับการบูรณาการเพื่อจัดการเรียนการสอน ศูนย์ไร่ขิงวิทยาลัยทองสุข
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมไทย-จีน, การบูรณาการ, การเรียนการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมไทย-จีนกับการบูรณาการเพื่อจัดการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อเห็นถึงการผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีนและเพื่อสอดแทรกวัฒนธรรมจีนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาวิธีการเรียนการสอนที่ เหมาะสมสำหรับนักศึกษา
ประชากรเป็นนักศึกษาวิทยาลัยทองสุขระดับปริญญาตรี จำนวน 140 คือได้รับการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบสอดแทรกวัฒนธรรมจีน ดำเนินการสอนทั้งสิ้น 1 ภาคการศึกษา โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการวัดทัศนคติต่อการเรียนการสอนแบบสอดแทรกวัฒนธรรมจีน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบสอดแทรก วัฒนธรรมจีน นักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ90 เห็นว่าอาจารย์สอนโดยมีการบูรณาการวัฒนธรรมจีนในการเรียน การสอนทำให้เกิดความเข้าใจเป็นอย่างมาก นักเรียนส่วนใหญ่เข้าใจในวัฒนธรรมทั้ง ไทยและจีน มีความสนุกสนานในการเรียน
References
ธิดารัตน์น้อยสุวรรณ(2556) การเปรียบเทียบการบูรณาการวัฒนธรรมจีนในการเรียนการสอนภาจีน บทความวิจัยในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4
สุวรรณ เลียงหิรัญถาวร(2556) การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของจังหวัดเชียงใหม่.วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีทึ่1 ฉบับที่2 กรกฏาคม – ธันวาคม 2556
สมโภชน์ ธรรมแสง. (2544). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา, มหาวิทยาขอนแก่น
อรพรรณ ฐานะศิริพงษ์ (2555)กระแสวัฒนธรรมจีน บาบ๋า ในบริบท การสอดแทรกเชิงวัฒนธรรม ศึกษาเฉพาะกรณี ถนนกลาง อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิเรก นวลศรี(2558) การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนด้วยวิธีตอบสนองด้วยท่าทาง TPR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคูยางสำนักงานพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 วารสารปัยญภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษาย 2558
ในตะวัน กำหอม (2558) ระเบียบวิธีวัยทางการศึกษา วิทยาลัยทองสุข พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ วิทยาลัยทองสุข