การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 2

ผู้แต่ง

  • ธารินี กิตติกาญจนโสภณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วีระ วงศ์สรรค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เบญจภรณ์ รัญระนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลากร, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประชากรในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการบุคลากรครูโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  จำนวน 159 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการบุคลากรครูโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการวางแผนและกำหนดทางเลือกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ การประเมินผลและรายงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด  ส่วนในรายข้อ ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ข้อย่อยด้านการนำวิทยากร ภูมิปัญญาชาวบ้านมาร่วมจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

References

คนึงนิจ กองผาพา. (2553). การพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

คณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี

เจริญ ไวรวัจนกุล. (2546). การบริหารหลักการแนวคิด ทฤษฎี. สุรินทร์: สถาบันราชภัฏสุรินทร์

ชนาธิป พรกุล. (2543). CAFS: A student – Centered Instructional Model. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัยวัฒน์ บุณฑริก. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. อุบลราชธานี : พริกหวานกราฟฟิค

ชารี มณีศรี.(2538). การนิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2554). การบริหารงานบุคลากรในองค์การทางการศึกษา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เติมศักดิ์ สุวรรณดาโบส์. (2561). การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. (ออนไลน์) 28 กรกฎาคม 2561 จาก htt://www.Termsak.com/Termsak Suwandabos@Thaimail.com.

นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี

นารีรัตน์ ตั้งสกุล. (2542). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร โดยกระบวนการบริหาร ตามทัศนของผู้บริหารและครูผู้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. รายงานการค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นวลละออง ทองเลิศ. (2550). การพัฒนาหลักสูตร กลุ่มวิชาการงานและอาชีพ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุกระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สำนักงานการศึกษา เทศบาลนครอุบลราชธานี . วิทยานิพนธ์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี

ประมวล ลาภเจริญวงศ์ (2554) การพัฒนาบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเทศบาล 3 (สระกระเทียม) สังกัดเทศบาลนครนครปฐม การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปริศนา เสร่บาง. (2552). ความต้องการพัฒนาครูอาจารย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พันธุ์นิภา แย้มชุติ. (2550). การพัฒนาบุคลากรโรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พนิจดา วีระชาติ. (2554). การฝึกอบรมกับการพัฒนาอาชีพ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

พะยอม วงศ์สารศรี. (2544). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์สุภาเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. (2531). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย

ภัคจิรา สิงห์วิเศษ.(2551). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเสือโก้วิทยาสรรค์. การศึกษาอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภณิดา มาประเสริฐ (2555). บริบทของการศึกษา ประมวลสาระวิชาพื้นฐานวิชาชีพครู. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มนูญ ไชยทองศรี. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วินัย บุญศรี. (2552). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนราม อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมาน อัศวภูมิ. (2550). การนิเทศการศึกษา. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี

สหชาติ ไชยรา. (2544). การพัฒนาบุคลากรของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด อำเภอเมือง หนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู . การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สมคิด จัยวัฒน์.(2554). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายใน ของโรงเรียนในสังกัดกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอชานุมาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ. การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมเดช สีแสง. (2553). คู่มือการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. นครสวรรค์: ริมบึงการพิมพ์

สมบัติ นพรัก. (2561). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาศาสตร์การบริหาร. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020

How to Cite

กิตติกาญจนโสภณ ธ., วงศ์สรรค์ ว., & รัญระนา เ. (2020). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 2: . พุทธมัคค์, 5(2), 121–129. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/244883