กระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ในบริบทสังคมไทยยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุกิจ ชัยมุสิก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เสนีย์ คำสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อารดา ฉิมมากูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์การพัฒนา, หลักสูตรรัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์, บริบทสังคมไทยยุคดิจิตอล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาบริบทสังคมยุคดิจิทัลและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดศึกษาในศตวรรษที่ 21 2. เพื่อวิเคราะห์จุดมุ่งหมายและกระบวนทัศน์หลักสูตรสาขารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และ 3. เพื่อเสนอแนะกระบวนทัศน์การพัฒนาหลักสูตรสาขารัฐศาสตร์ที่พึงประสงค์ในบริบทสังคมไทยยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และได้ดำเนินการวิจัยโดยมีหนังสือขอสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้แทนคณาจารย์ประจำหลักสูตรคณะต่างๆ จำนวน 7 รูป/คน ผู้แทนนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง จำนวน 3 รูป/คน ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญดิจิตอล 4 รูป/คน และผู้นำท้องถิ่นและชุมชน จำนวน 2 คน ซึ่งเป็นการศึกษาจากประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 รูป/คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) พร้อมทั้งมีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 5 รูป/คน

        ผลการวิจัย พบว่า 1. ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ทันสมัย และสามารถให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้จากระบบออนไลน์ หรือมีหลักสูตรใหม่ที่มีกระบวนการเรียนการสอนตลอดหลักสูตรให้กับผู้ที่มีความต้องการเรียนทางไกล และเมื่อศึกษาจบแล้วสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ ตลอดการประกอบอาชีพที่มีบทบาทในฐานะผู้นำชุมชน หรือผู้นำองค์กรได้อย่างแท้จริง 2. ด้านการพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร มีข้อค้นพบว่า ต้องปรับโครงสร้างของหลักสูตร ทั้งจำนวนหน่วยกิตเนื้อหาสาระ และรายวิชาให้เหมาะสมกับยุคสมัย เน้นการศึกษาค้นคว้าให้เกิดองค์ความรู้ด้านการปกครองที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่ผู้เรียนสามารถประยุกต์หลักการทางพระพุทธศาสนาเข้ากับหลักการทางการปกครองใช้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการปกครอง เมื่อเรียนจบไปแล้ว 3. ด้านการพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตร มีข้อค้นพบว่า เนื้อหาสาระของหลักสูตรต้องมีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมความคิด ความต้องการของสังคมดิจิตอล ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานได้ ส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการเรียนการสอน การคิดอย่างมีระบบ รู้จักวิเคราะห์ เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อการเรียนและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ด้านการพัฒนาสหวิทยาการสมัยใหม่ ๆ มีข้อค้นพบว่า หลักสูตรต้องมีเนื้อสาระรายวิชาที่ผสมผสานหลาย ๆ ศาสตร์ เพื่อให้เป็นหลักวิชาการแบบสหวิทยาการสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับศาสตร์วิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่เข้ากับยุคสังคมดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การปรับกระบวนทัศน์เรื่องหลักสูตร. วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม.

จามะรี เชียงทอง. (2549). สังคมวิทยาการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2555). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์: มุมมองจากทฤษฎีวิพากษ์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, หน้า 19-36.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2555). หลักสูตรและการเรียนการสอนอุดมศึกษา: พาราไดม์และวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อินทภาษ จำกัด.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

วิชัย ดิสสระ. (2533). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์เพรส มีเดีย.

ออมสิน จตุพร. (2557). กระบวนทัศน์และองค์ความคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร:จากกระบวนทัศน์การบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์สู่กระบวนทัศน์เชิงปลดปล่อย. วารสารครุศาสตร์, ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน), หน้า 160-174.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน หน้า 344.

ประชัน คะเนวัน, สายใจ ทันการ. (2557). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อาจารย์ประจาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. (2561). การประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เพชรปาณี อินทรพาณิชย์, สำราญ กำจัดภัย, สมพร หลิมเจริญ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน.

อัญชลี อินทิยา, บัญญัติ ชานาญกิจ, นวลศรี ชานาญกิจ. (2016). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการใช้ทักษะชีวิต สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University Volume 10 No.2 July-December.

กระบวนทัศน์การพัฒน. (2558). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2562. จากhttps://www.l3nr.org/posts/125655.

ความหมายของกระบวนทัศน์. (2558). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่14 กันยายน 2562. จากhttps://www.facebook.co/permalink. _fbid=550926988308528&id=480678505333377.

ความหมายของกระบวนทัศน์. (2558). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่14 กันยายน 2562. จากhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=550926988308528&id=480678505333377.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021