วัฏฏะสงสารในพระพุทธศาสนามหายานกับการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

ผู้แต่ง

  • ภัสสรรัชต์ กฤษณะโลม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วัฏสงสาร, วัชรปรัชญาปารมิตา, มรรคา

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฏฏะสงสารในพระพุทธศาสนามหายานกับการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน พบว่า วัฏฏะสงสารในพระพุทธศาสนามหายานนั้น กล่าวถึง สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เวียนตายเวียนเกิด คือเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดใหม่ แล้วตายอีก แล้วเกิดใหม่อีก วนเวียนอยู่อย่างนี้อย่างไม่มีวันจบสิ้น นี่คือการท่องเที่ยวไปเป็นวงกลม ปรากฎในพระสูตรวัชรปรัชญาปารมิตา โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตนเพื่อให้หลุดพ้นวงกลมของวัฏสงสาร การพัฒนาทางลักษณะจิตใจของพระโพธิสัตว์ที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปเพราะธรรมะที่บำเพ็ญควบคู่กันไปเสมอ ลักษณะของภูมิจึงคล้ายกับการอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “วิหาร” และคล้ายกับทางบำเพ็ญธรรมะในพุทธศาสนามหายานที่เรียกว่า “มรรคา” หรือหนทางแห่งมรรค เป็นที่ชำระจิตใจตนเองจนได้บรรลุความหลุดพ้น ส่วนการปฏิบัติธรรม คือการเมตตาต่อผู้อื่นก็เช่นกัน ให้ผลดีต่อคุณภาพชีวิตอย่างยิ่ง  เพราะหมายถึงการขจัดความโกรธและความพยาบาทออกจากจิตใจ  ช่วยบรรเทาความเครียด และมีชีวิตอย่างผาสุก  ผลลัพธ์คือบุคลิกภาพอันสงบเยือกเย็นของผู้มีคุณธรรมข้อนี้  แต่มหายานได้ทำให้คุณธรรมข้อนี้มีลักษณะทางสังคม ด้วยหลักมหากรุณา ได้  ฉะนั้น หลักบารมีธรรมของพระโพธิสัตว์จึงเป็นหลักเชื่อมวิถีชีวิตแบบฆราวาส และแบบบรรพชิตเข้าด้วยกัน และทำให้พระพุทธศาสนาไม่เป็นกิจกรรมของบรรพชิตแต่อย่างเดียว  แต่เป็นของฆราวาสด้วย  ตัวอย่างนี้สามารถหาดูได้จากมหายานในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวันในปัจจุบัน หรือในประเทศไทย เช่นกิจกรรมขององค์กรการกุศลของชาวไทยเชื้อสายจีน เช่นมูลนิธิร่วมกตัญญูและป่อเต็กตึ๊ง

References

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2556). พุทธอภิปรัชญา : ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2557). โพธิสัตวจรรยา : มรรคาเพื่อมหาชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. นนทบุรี : โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์.

พุทธทาสภิกขุ. (2553). โพธิปักขิยธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด.

วิทยา ศักยาภินันท์ . (2552). อุดมการณ์พระโพธิสัตว์ : พุทธจริยศาสตร์เพื่อมหาชน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน.

อริยะ สุพรรณเกษัช. (2561). วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร. กรุงเทพฯ : ม.ป.ป.

อมร ทองสุก. (2553). วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร.ปทุมธานี. บริษัท ที.เอ็น.พี. พริ้นติ้ง จำกัด.

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2557). ชีวิตและผลงานนักปราชญ์พุทธ.มหาสารคาม : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาตการพิมพ์.

อภิชัย โพธิ์ประสิทธ์ศาสต์. (2527). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา.

Bhiksuni Heng Ch’ih. (1907). The Diamond Sutra. San Francisco : The Buddhist Text Translation Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021