หลักธรรมเพื่อการเยียวยาจิตใจต่อภาวะซึมเศร้าในสังคมปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • จันทิมา แสงแพร คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไชยชุมพลชนะสงคราม

คำสำคัญ:

หลักธรรม, การเยียวยาจิตใจ, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

ปัญหาภาวะซึมเศร้าในสังคมปัจจุบันเป็นปัญหาที่ฉุดรั้งความเจริญและพัฒนาทั้งต่อปัจเจกบุคคล และระดับประเทศชาติที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพทางกายและทางจิตใจที่ดี การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อการเสนอแนะแนวทางการประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาเพื่อการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภาวะซึมเศร้า หลักธรรมทั้งปวงมุ่งเน้นที่การบรรเทาทุกข์บำรุงสุขทำความกระจ่างแก่โลกด้วยมุ่งเน้นทางด้านจิตใจ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือความหลุดพ้นจากสภาวะทุกข์ซึ่งจะเห็นได้จากหลักธรรมคำสอนทั้งปวงอันมีทิศทางเดี๋ยวคือแก้ไขปัญหาทางด้านจิตใจ

การศึกษา พบว่า หลักธรรมเพื่อการเยียวยาจิตใจต่อภาวะซึมเศร้าในสังคมปัจจุบัน อันมีสาเหตุตามนัยทางพระพุทธศาสนาจาก นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา การศึกษาครั้งนี้จึงได้นำเสนอการประยุกต์หลักธรรมที่ทำมีผลให้เกิดประโยชน์ต่อการเยียวยาหรือบำบัดทั้งยังป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า 4 ประการ ได้แก่ การประยุกต์ (1) หลักธรรมการเจริญกรรมฐาน (2) หลักไตรลักษณ์ (3) หลักการปรโตโฆสะ และ (4) หลักการเจริญสติ หลักธรรมหลักปฏิบัติทั้ง 4 นี้เป็นอุปการะอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะซึมเศร้าในโลกปัจจุบัน ทั้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง และแก่พุทธศาสนิกชนที่สนใจให้เกิดองค์ความรู้อย่างลึกซึ่งในการประยุกต์และปฏิบัติตามหลักธรรม

References

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. (2564). การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตปัญญาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยกฎอนิจจตาและปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6 (1), 425-440.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554. จังหวัดนนทบุรี: โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต. (2562). กรมสุขภาพจิต ห่วงวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/1384-กรมสุขภาพจิต-ห่วงวัน รุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า-แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ.html.

ณัฐหทัย นิรัติศัย. (2019). พุทธธรรมกับการบำบัดโรคซึมเศร้า. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 303-317.

นันทภัค ชนะพันธ์. (2556). การฟื้นหายจากโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย, 6(1), 19-33.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้ง

ที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

พระพรหมคุณาภรณ์. ป.อ.ปยุตฺโต. (2556). ชีวิตที่สมบูรณ์. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์สวย.

พระมหาพรเทพ อุตฺตโม (เดชประสาท). (2554). การศึกษาวิเคราะห์วิธีบำบัดโรคซึมเศร้าตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาไพฑูรย์ ปนฺตนนฺโท. (2563). การบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการประยุกต์ใช้การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน. วารสารสถาบันวิจัยญานสังวร, 11(2), 99 – 110.

พระวีรพงศ์ กลฺยาโณ, พระครูโกศลอรรถกิจ, พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล. (2562). แนวทางการนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาเยียวยาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(6), 3057-3073.

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2551). รายงานผู้ป่วยการฝึกสติแนวพุทธร่วมกับการรักษาโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล : กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 14(1), 60-68.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาริสา อุทยาพงษ์. (2560). การประยุกต์ใช้การเจริญสติเพื่อป้องกันผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 109 – 122.

สมภพ เรืองตระกูล. (2543). โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สารรัตน์ วุฒิอาภา. (2555). การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 20(5), 457-467.

สิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2559). พุทธจิตวิทยาบูรณาการ: แนวคิดและการสร้างตัวแบบเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในสังคมไทย. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 15-16.

อาณัติ เพิ่มธรรมสิน. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13(2), 87-96.

อรพรรณ ลือบุญะวัชชัย และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

Venerable Dr., Rahula. (2542). What the Buddha Taught. 5th published. Bangkok: Haw Trai Foundation.

World Health Organization. (30 January 2020). Depression. Retrieved February 11, 2021, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression

World Health Organization. (2005). Depression. Research. New York: Spring Publishing Company Inc.

Wang et al. (2007). Use of mental health services for anxiety, mood, and substance disorders in 17 countries in the WHO world mental health surveys. The Lancet}, 370(9590), 841-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-11-2021