การพัฒนาหลักสูตรและการผลิตสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ธรรมศึกษา, อุดมศึกษา, หลักสูตร, สื่อดิจิทัลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลิตสื่อดิจิทัล สำหรับการเรียนการสอนธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปที่เรียนโดยใช้หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโทและชั้นเอก ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้สถิติการวิจัย คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยภาพรวมทั้ง 3 ชั้น มีประสิทธิภาพ 84.73/85.80 แสดงว่าหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนธรรมศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนธรรมศึกษา ชั้นตรี ชั้นโท และ ชั้นเอก หลังการเรียนรู้โดยใช้สื่อดิจิทัลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไปโดยภาพรวม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
พระมหาคณาวุฒิ อคฺคปญฺโญ (บารุงทรัพย์). (2563). การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์วิชาธรรม หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูริชญา เผือกพรหม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษาและการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรภัทร ไม้ไหว. (2552). แนวทางการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน เขตลาดกระบัง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิรีธร สันแดง. (2559). การออกแบบสื่อบูรณาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลแก่นิสิต ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม– ธันวาคม 2561), 65-79.
อภิชาติ เนินพรหม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562, 80-91.