การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล
คำสำคัญ:
ชุมชน, อัตลักษณ์, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสภาพบริบทและอัตลักษณ์ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เขตภาคกลางปริมณฑล เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนและแกนนำในชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview)
จากการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล สามารถจำแนกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์ด้านอาหาร และอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เกิดจากชุมชนมีความต้องการสื่อประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบภายใต้อัตลักษณ์ฺและภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละแห่ง ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ อันส่งผลต่ออัตลักษณ์และการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล การพัฒนาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวสามารถทำได้หลายมิติ แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ จะเป็นช่องทางในการช่วยให้การท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจากการวิจัยพบว่าแนวทางในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน ควรมีสื่อวิทยุชุมชนสำหรับการรับข้อมูลข่าวสารในกลุ่มผู้สูงอายุ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแผ่นพับหรือโบชัวร์ที่ใช้ศิลปะการออกแบบแบบอินโฟกราฟฟิก ซึ่งมีผลต่อทัศนคติ ความคิดเห็น และพฤติกรรมของผู้อ่าน นอกจากนี้ สื่อออนไลน์ เช่น การสร้างเพจแสดงถึงข้อมูลและอัตลักษณ์การท่องเที่ยวในชุมชน เป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วผลการวิจัยยังพบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนและแกนนำในชุมชน จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดย 4 กระบวนการสำคัญในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์หรือเรียกสั้นๆ ว่า “IPNS Model” ซึ่งประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์ (Identity: I) 2) กระบวนการ ประชาสัมพันธ์ (Process: P) 3) ความต้องการประเภทสื่อ (Need of media types: N) และ 4) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (Public media strategy: S) เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชมในการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคการปริมณฑลอย่างยั่งยืน
References
กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2562). การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (2019): มกราคม - มิถุนายน 2562.
นุชนาฏ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลําปาง. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ “มนุษยศาสตร์ในทศวรรษใหม่: พลวัตแห่งองค์ความรู้กับพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม” วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประชาชาติธุรกิจ. เกาะกระแสโลก วันที่ 9 กันยายน 2560 ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จากhttps://www. prachachat.net/world-news/news-36420.
ประทุม ฤกษ์กลาง (2556). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 9. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางในกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2557 (หน้า 1-15).
เพียงกมล เกิดสมศรี และ ปรีชา พันธุ์แน่น. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ของ “ตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น” ประเทศไทย.วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก.ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563.
ศิริประภา ประภากรเกียรติ (2562).การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อนฤมิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาคีรา ราชเวียง (2560). อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2560) (หน้า 79-88).
Benson, Vladlena & Morgan, Stephanie. (2015). Implications of Social Media Use in Personal and Professional Settings.
BLT BANGKOK. ท่องเที่ยวไทยสดใส กวาดรายได้แตะ 1 ล้านล้านบาท. วันที่ 28 พฤษภาคม 2561 ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561. จาก http://www.bltbangkok.com/News.
Dobrica Jovicic (2016) Cultural tourism in the context of relations between mass and alternative tourism. Current Issues in Tourism, 19:6, 605-612, DOI: 10.1080/13683500. 2014.932759.
Education APP. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จาก https://sites.google.com/site/psupattar475/home.
Information Technologe for Education. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จาก https://sites.google. com/site/kritsadasupasri/home.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 พุทธมัคค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.