การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พระสุขุม สุขวฑฺฒโก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาธำรงค์ ฐิตปุญฺโญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระสุวรรณ สุเมธปุญฺโญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ชนมกร ประไกร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บัญชา ธรรมบุตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณทิพรดา ไชยศิลป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • มงคล สารินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การพัฒนา, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล 2) สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคกลางปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน 8 ชุมชนๆ ละ 5 รูป/คน

ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของสภาพของแหล่งท่องเที่ยวไม่ค่อยได้รับการฟื้นฟู ปล่อยให้ทรุดโทรมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมากนัก บางแห่งแทบจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งมีปัญหาด้านภัยธรรมชาติ ปัญหาด้านการคมนาคม และปัญหาด้านความสะอาด สรุปตามองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหา การตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวก็ยังไม่ชัดเจน เพราะประชาชนไม่ค่อยได้เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งมอบเรื่องการแก้ปัญหาและการตัดสินในการที่จะแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้กับผู้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งไม่ใช่คนในชุมชน 2) ด้านการดำเนินงานในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม การดำเนินการตามแผนงาน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ค่อยเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชน 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การรับผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ชุมชนคาดหวังจะได้รับจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ผลประโยชน์ต้องเป็นเรื่องของชุมชนมากกว่าจะเป็นผลประโยชน์ส่วนบุคคล ผลประโยชน์ของชุมชนยังมีน้อย ส่วนมากจะเป็นผลประโยชน์ส่วนบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 4) ด้านการประเมินผล ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลน้อย การวางนโยบายในการพัฒนามีน้อยมาก บางแห่งไม่มีการสืบค้นข้อมูลของท้องถิ่น ขาดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่มีส่วนร่วมในการเสนอผลการปฏิบัติงานและแนวคิดในการปรับปรุง องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสังเคราะห์จากเอกสาร การลงพื้นที่และการสัมภาษณ์เชิงลึก จึงได้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคือ “ROBP: MODEL”

References

กนิษฐิกา ศอกกลาง. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ณรงค์ ขูรูรักษ์ และคณะ. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานไดโนเสาร์ของประชาชนในตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม-สิงหาคม 2553.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2543). แนวคิดการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (10) ก.ค.-ธ.ค. 60

นาตยา บุตรอยู่. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณิลัย นิติโรจน์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองเขตวังทองหลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชากฎหมายและการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เผยแพร่แล้ว

15-06-2022