การบริหารจัดการเชิงรุกของโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุเทพ เมยไธสง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • จิราภรณ์ ผันสว่าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สกล คามบุศย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • บรรจง ลาวะลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการเชิงรุก, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ภูมิคุ้มกันทางใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียน ผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบโมเดล (Model) ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) สร้างและประเมินรูปแบบ (Model) ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน เจ้าหน้าที่ พนักงานและวิทยากรจิตอาสาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 520 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารจัดการเชิงรุก ประกอบด้วยตัวบ่งชี้การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สมรรถนะของโรงเรียน ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร และการจัดกระบวนการการเรียนรู้ องค์ประกอบการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ การควบคุมสมาธิ การเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค การควบคุมเจตคติ และความมั่นใจตนเอง องค์ประกอบประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนมีสุขภาวะทางจิตที่ดี ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และผู้เรียนมีสุนทรียภาพ ส่วนการวิเคราะห์สมการโครงสร้างเพื่อหาค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม ปรากฏว่า การบริหารจัดการเชิงรุก มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน เท่ากับ 0.401 และมีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.426 การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจผู้สูงอายุมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.303 และการบริหารจัดการเชิงรุกมีอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.550 สำหรับรูปแบบ (Model) การบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย โครงสร้างเชิงระบบ (System Approach) ดังนี้ Input ได้แก่ การบริหารจัดการเชิงรุก Transformation Process ได้แก่ PDCA Model และ 4D Model และ Product ได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และ Result ได้แก่ ประสิทธิผลของโรงเรียนผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจําปี พ.ศ.2561-2580. สืบค้นได้จากhttp://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1539326153-138_0.pdf

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). เกิดน้อยแต่อยู่นานจุดแรกเริ่ม “สังคมสูงวัย”. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/45855-เกิดน้อย%20แต่อยู่นาน%20จุดแรกเริ่ม%20“สังคมสูงวัย”.html

สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Byrne, B.M. (2001). Structural Equation Modeling. New Jersey, Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Hair, J.F., W.C. Black, et.al. (2005). Multivariate Data Analysis. New Jersey, Person Prentice Hall.

Kline, R.B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York, The Guilford Press.

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022